การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อยกระดับมาตรฐาน คุณภาพผลผลิตลองกองในพื้นที่จังหวัดพัทลุง
การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลผลิต ลองกองในพื้นที่จังหวัดพัทลุง วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตลองกองที่เหมาะสมกับ สภาพพื้นที่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตคุณภาพและผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดพัทลุง ระหว่างเดือน ตุลาคม 2...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , |
---|---|
Format: | Technical Report |
Language: | th_TH |
Published: |
สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ 8
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15592 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | การทดสอบและพัฒนาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อยกระดับมาตรฐานคุณภาพผลผลิต ลองกองในพื้นที่จังหวัดพัทลุง วัตถุประสงค์เพื่อให้ได้เทคโนโลยีการผลิตลองกองที่เหมาะสมกับ สภาพพื้นที่ ทำให้เกษตรกรได้รับผลผลิตคุณภาพและผลตอบแทนเพิ่มขึ้นมากกว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ดำเนินการในพื้นที่เกษตรกรจังหวัดพัทลุง ระหว่างเดือน ตุลาคม 2550 ถึง กันยายน 2552 ประกอบด้วย 2 กรรมวิธี คือ วิธีแนะน่า (การผลิตลองกองตามเทคโนโลยีที่คัดเลือกแล้ว) และวิธีเกษตรกร (การผลิตลองกองของเกษตรกรแบบเดิม) ผลการทดสอบ ในปี 2551 พบว่า ลองกอง ในพื้นที่จังหวัดพัทลุงมีการออกดอกติดผลน้อยมาก โดยเฉพาะสวนลองกองที่ทำการทดสอบไม่มีการออกดอกเลย เนื่องจากปีที่ผ่านมา ปี 2550 ให้ผลผลิตมากทำให้มีอาหารสะสมในต้นไม่พอ สำหรับการออกดอกในปีถัดมา ประกอบกับในช่วงเดือน มกราคม-มีนาคม 2551 ซึ่งเป็นช่วงชักนำและกระตุ้นการออกดอก แต่สภาวะภูมิอากาศมีความแปรปรวน ทำให้ฝนตกชุกอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ลองกองที่พักตัวเตรียมพร้อมพัฒนาเป็นตาดอกกลายเป็นใบแทน สำหรับผลการทดสอบ ในปี 2552 พบว่า มีการออกดอกติดผล แต่มีปริมาณน้อยและส่วนใหญ่จะออกนอกฤดู ทำให้ขาย ผลผลิตได้ในราคาที่สูงกว่าขายในฤดูกาลปกติ โดยการจัดการสวนตามวิธีแนะน่า ได้ผลผลิตเฉลี่ย 490.1 กิโลกรัม/ไร่ และวิธีของเกษตรกร ได้ผลผลิตเฉลี่ย 327.6 กิโลกรัม/ไร่ คิดเป็นปริมาณที่ เพิ่มขึน 49.6 เปอร์เซ็นต์ การน่าวิธีแนะน่าไปจัดการสวนลองกองทำให้คุณภาพผลิตผล มีปริมาณ Total soluble solids สูงกว่าวิธีของเกษตรกร และได้ลองกองคุณภาพเกรด A มากที่สุดคือ 74.5 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือ เกรด B ให้ผลผลิต 25.5 เปอร์เซ็นต์ ส่วนวิธีเกษตรกรมีคุณภาพช่อผล เกรด C มากที่สุดคือ 37.3 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาคือเกรด B และ A ให้ผลผลิต 35.5 และ 27.2 เปอร์เซ็นต์ ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ต้นทุน รายได้ และผลตอบแทน พบว่า รายได้เฉลี่ยตามวิธี แนะน่า มีรายได้ 26,763.3 บาท/ไร่ และรายได้เฉลี่ยตามวิธีของเกษตรกร 12,866.8 บาท/ไร่ คิด เป็นรายได้ที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 13,896.5 บาท/ไร่ สำหรับต้นทุนการผลิตตามวิธีแนะน่ามีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 8,770 บาท/ไร่ และตามวิธีของเกษตรกร มีต้นทุนการผลิต 5105 บาท/ไร่ เมื่อหักค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับต้นทุนผันแปรจะมีผลตอบแทนตามวิธีแนะนำเฉลี่ย 17,993.3 บาท/ไร่ และวิธีของเกษตรกร มีผลตอบแทนเฉลี่ย 7,761.8 บาท/ไร่ คิดเป็นค่าตอบแทนที่เพิ่มขึ้น 131.8 เปอร์เซ็นต์ เกษตรกรให้การยอมรับเทคโนโลยีด้านการตัดแต่งกิ่ง การใส่ปุ๋ย การพ่นไส้เดือนฝอย การตัดแต่งดอก/ช่อผล การปลิดผล และการคัดเกรดผลผลิต |
---|