โครงการศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพัทลุง กรณีการศึกษา วิจัย และฟื้นฟูภูมิปัญญาเกษตรกรรมของชุมชนพนางตุง
การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพัทลุง : กรณีศึกษา วิจัย ฟื้นฟูภูมิปัญญาเกษตรกรรมของชุมชนพนางตุง ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านท่าช้าง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ลงพื้นที่ภาคสนาม รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (interview) ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม(focus gr...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Format: | Technical Report |
Language: | th_TH |
Published: |
ายงานการสัมมนาระบบเกษตรแห่งชาติ ครั้งที่ 6 ระหว่างวันที่ 16-18 สิงหาคม 2553 ณ โรงแรมเจ.บี. อ.หาดใหญ่ จ.สงขลา
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15604 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | การศึกษาภูมิปัญญาชาวบ้านในจังหวัดพัทลุง : กรณีศึกษา วิจัย ฟื้นฟูภูมิปัญญาเกษตรกรรมของชุมชนพนางตุง ในพื้นที่หมู่ที่ 5 บ้านท่าช้าง ตำบลพนางตุง อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง โดยใช้วิธีการศึกษาข้อมูลพื้นฐานของชุมชน ลงพื้นที่ภาคสนาม รวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก (interview) ใช้วิธีการสนทนากลุ่ม(focus grops) และร่วมหาข้อสรุปพัฒนาเป็นโจทย์การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วมค้นหารูปแบบการฟื้นฟูวัฒนธรรมข้าว และการทำแปลงทดลองนาอินทรีย์ ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เกี่ยวกับเกษตรกรรมการทำนา มี 3 ประเภท คือ 1) ภูมิปัญญาด้านการเลือกสรรและใช้ปัจจัยการผลิต ประกอบด้วย ภูมิปัญญาการเลือกที่ดินที่มีความสัมพันธ์กับโครงสร้างของดิน พันธุ์ข้าว ฤดูกาล 2) ภูมิปัญญา ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรม ที่สอดคล้องกับขั้นตอนการทำนา 3) ภูมิปัญญาด้านการบริโภคและการใช้ประโยชน์จากข้าวในแต่ละช่วงเวลาการเจริญเติบโตใช้ประโยชน์ด้วยภูมิปัญญาที่เหมาะสม นอกจากนี้การศึกษาครั้งนี้ พบว่าการใช้กระบวน
การวิจัยเชิงปฏิบัติการโดยชุมชนมีส่วนร่วมหารูปแบบการฟื้นฟูภูมิปัญญาการทำนาตามลักษณะปฏิบัติได้ 2 ลักษณะ คือ 1) ลักษณะบุคคล เช่น การขอขมาเจ้าที่นา แรกไถนา แรกดำนา แรกปักกล้า และแรกเก็บข้าว 2) ลักษณะความร่วมมือของชุมชน เช่น การกวนข้าวยาโค ข้าวยาคู การทิ่มข้าวเม่า (ข้าวหม้าว) และการทำขวัญข้าว มีการร่วมพัฒนาโจทย์วิจัยจัดทำแปลงสาธิตการทำนาอินทรีย์ เกิดเป็นทางเลือกของชุมชนในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ลดต้นทุนการผลิตที่ควบคู่กับการฟื้นฟูภูมิปัญญาการทำนาได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสมกับพื้นที่ |
---|