ข้าวเจ้าพันธุ์เฉี้ยงพัทลุง

ข้อมูลทั่วไป : ประวัติ : ปี พ.ศ.2530 สถานีทดลองข้าวปัตตานี ได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ซึ่งมีชื่อเดิมหลายชื่อ ได้แก่ ขาวกาหวิน เปอร์วิต ขาวมาเล และบางเเก้ว ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกจากแปลงนาเกษตรกร อำเภอระโนต จังหวัดสงขลา นำมาพัฒนาตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์โดยคัดเลือกแบบห...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: กรมวิชาการเกษตร
Format: Article
Language:th_TH
Published: กรมวิชาการเกษตร 2016
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15612
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:ข้อมูลทั่วไป : ประวัติ : ปี พ.ศ.2530 สถานีทดลองข้าวปัตตานี ได้เก็บรวบรวมพันธุ์ข้าวพื้นเมืองภาคใต้ซึ่งมีชื่อเดิมหลายชื่อ ได้แก่ ขาวกาหวิน เปอร์วิต ขาวมาเล และบางเเก้ว ซึ่งเป็นพันธุ์ที่เกษตรกรนิยมปลูกจากแปลงนาเกษตรกร อำเภอระโนต จังหวัดสงขลา นำมาพัฒนาตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์โดยคัดเลือกแบบหมู่ ศึกษาพันธุ์เปรียบเทียบผลผลิตภายในสถานี ระหว่างสถานี ในนาเกษตรกร ถึงปี พ.ศ.2536 พันธุ์เฉี้ยงได้รับการประเมินเป็นพันธุ์ดี ปรับตัวได้ดีในสภาพนาดอนและนาลุ่ม ลักษณะทั่วไป : พันธุ์ข้าวเฉี้ยง เป็นข้าวนาสวนข้าวไวต่อช่วงแสงเก็บเกี่ยวเดือนมกราคม ต้นสูงประมาณ 150 เซนติเมตร เมล็ดเรียวยาว เปลือกสีฟาง ท้องไข่ปานกลาง คุณภาพการสีดี มีอมิโลสสูง 27 เปอร์เซ็นต์ ข้าวสุกร่วนแข็งไม่หอม จุดเด่นของข้าวพันธุ์นี้ให้ผลผลิตค่อนข้างสูง เป็นข้าวเบาเก็บเกี่ยวได้ก่อนพันธุ์นางพญา 132 ระยะพักตัวของเมล็ด 1 สัปดาห์ ลักษณะเด่น : ผลผลิตสูง 470 กิโลกรัมต่อไร่ ปรับตัวได้ดีทั้งในสภาพพื้นที่นาดอนและนาลุ่ม อายุเบาคุณภาพการหุงต้มดี หุงง่ายทั้งข้าวเก่าและข้าวใหม่ ภายหลังเก็บเกี่ยวสามารถสีบริโภคได้ทันที เป็นที่นิยมของตลาดในท้องถิ่น พื้นที่แนะนำ : แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ที่มีภาวะแห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วงปลายฤดูทั้งในพื้นที่อาศัยน้ำฝนและเขตชลประทานในพื้นที่จังหวัดพัทลุง จังหวัดนครศรีธรรมราช จังหวัดสงขลา จังหวัดสตูล จังหวัดปัตตานี จังหวัดยะลา และจังหวัดนราธิวาส ข้อควรระวัง : อ่อนแอต่อโรคไหม้ในระยะกล้า จึงควรหลีกเลียงการตกกล้าแห้ง