ทรัพยากรสัตว์น้ำจากเครื่องมือไซนั่งในทะเลสาบสงขลาตอนนอก
สำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำจากเครื่องมือไซนั่งในทะเลสาบสงขลาตอนนอก ระหว่างเดือน มิถุนายน 2546 - กันยายน 2547 พบว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำที่ถูกจับได้จากไซนั่งมีอัตราการจับ 0.9 ก.ก./ลูก/วัน ประกอบด้วยสัตว์น้ำ จำนวน 273 ชนิด ได้แก่ กลุ่มกุ้ง 26 ชนิด ปลา 214 ชนิด ปู 23 ชนิด หมึก 5 ชนิด และ กั้งตั๊กแตน 5 ชนิด อง...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Format: | Technical report |
Language: | th_TH |
Published: |
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/15898 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | สำรวจทรัพยากรสัตว์น้ำจากเครื่องมือไซนั่งในทะเลสาบสงขลาตอนนอก ระหว่างเดือน
มิถุนายน 2546 - กันยายน 2547 พบว่า ทรัพยากรสัตว์น้ำที่ถูกจับได้จากไซนั่งมีอัตราการจับ 0.9 ก.ก./ลูก/วัน
ประกอบด้วยสัตว์น้ำ จำนวน 273 ชนิด ได้แก่ กลุ่มกุ้ง 26 ชนิด ปลา 214 ชนิด ปู 23 ชนิด หมึก 5 ชนิด และ
กั้งตั๊กแตน 5 ชนิด องค์ประกอบสัตว์น้ำที่จับได้โดยน้ำหนัก แยกออกเป็น กลุ่มกุ้ง 54.7 % กลุ่มปลา 36.6 %
กลุ่มปู 4.5 % กลุ่มกั้งตั๊กแตน 4.2 % จากผลการศึกษาพบว่า สัตว์น้ำที่ถูกจับได้ ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มกุ้ง และ
กลุ่มรองลงมาคือกลุ่มปลา ซึ่งปลาที่พบส่วนใหญ่เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ปลาเศรษฐกิจ สัตว์น้ำที่สำคัญคือกุ้ง ชนิด
ต่างๆ ปู และกั้ง มีขนาดความยาวเฉลี่ยดังนี้ กุ้งแชบว๊ ย Penaeus merguiensis 9.6+0.06 เซนติเมตร กุ้งหัวมัน
Metapenaeus tenuipes 7.5+0.08 เซนติเมตร กุ้งกุลาลาย P. semisulcatus 9.1+0.34 เซนติเมตร กุ้งขาว
M. lysianassa 4.5+0.02 เซนติเมตร ปูม้า Portunus pelagicus 6.2+0.57 เซนติเมตร กั้งตั๊กแตนสันแดง
Erugosquilla woodmansoni 7.5+0.06 เซนติเมตร และสัตว์น้ำที่ถูกจับได้จากการศึกษาในครั้งนี้ มีขนาด
เล็กลงกว่าเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา แต่ขนาดของสัตว์น้ำที่ถูกจับไม่ได้มีขนาดเล็กกว่าขนาดที่เริ่มสืบพันธุ์ได้ |
---|