ความหลากหลายของแพลงก์ตอน สัตว์หน้าดินและแบคทีเรียในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย

การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตขั้นปฐมภูมิและทุตติยภูมิในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ใน 3 ฤดูกาล ของปี พ.ศ. 2550 พบว่า ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของแพลงก์ตอน สัตว์หน้าดินและแบคทีเรีย ในทะเลน้อย มีลักษณะที่แปรปรวนทั้งในเชิงพื้นที่และฤดูกาล ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม โดยแพลงก์ตอนพืชสกุลสา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: วุฒิชัย, แพงแก้ว, อ่อนจันทร์, โคตรพงษ์, อัศมน, ลิ่มสกุล, โสฬส, ขันธ์เครือ
Format: Technical Report
Language:th_TH
Published: กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 2015
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/16716
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: th_TH
Description
Summary:การศึกษาความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตขั้นปฐมภูมิและทุตติยภูมิในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ใน 3 ฤดูกาล ของปี พ.ศ. 2550 พบว่า ความหนาแน่นและการแพร่กระจายของแพลงก์ตอน สัตว์หน้าดินและแบคทีเรีย ในทะเลน้อย มีลักษณะที่แปรปรวนทั้งในเชิงพื้นที่และฤดูกาล ซึ่งขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม โดยแพลงก์ตอนพืชสกุลสาหร่ายสีเขียว แพลงก์ตอนสัตว์ชนิดโรติเฟอร์และสัตว์หน้าดินชนิดไส้เดือนเป็นกลุ่มที่พบมากในทะเลน้อย ในแง่ของความหลากชนิดของแพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดิน มีการเปลี่ยนแปลงที่สอดคล้องกับปริมาณคลอโรฟิลด์ เอ และอัตราผลผลิตรวมของผู้ผลิตขั้นปฐมภูมิ โดยในช่วงที่เกิดสภาวะยูโทรฟิเคชั่น ความหลากชนิดของแพลงก์ตอนและสัตว์หน้าดินมีค่าลดลง สำหรับแบคทีเรียที่พบในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย บางชนิดไม่สามารถจำแนกได้จากฐานข้อมูล GenBank ซึ่งอาจจะหมายถึง แบคทีเรียชนิดใหม่ที่ยังไม่เคยมีการศึกษามาก่อน หรือเป็นชนิดที่พบเฉพาะในระบบนิเวศน์ทะเลน้อยเท่านั้น