ยูโทรฟิเคชั่นและพลวัตรธาตุอาหารพืชในพื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย
ผลการศึกษาพลวัตรและสถานะของระบบนิเวศน์พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ในแง่ของวัฏจักรทางชีวธรณีเคมีของสารอินทรีย์และธาตุอาหารพืชและกระบวนการยูโทรฟิเคชั่น ในระหว่างปี พ.ศ. 2549-2551 พบว่า ทะเลน้อย กำลังประสบปัญหาหลัก ๆ อยู่สองประการ คือ ความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อม สภาวะ ยูโทรฟิเคชั่นและการเปลี่ยนแปลงด้...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Format: | Technical Report |
Language: | th_TH |
Published: |
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/16722 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | ผลการศึกษาพลวัตรและสถานะของระบบนิเวศน์พื้นที่ชุ่มน้ำทะเลน้อย ในแง่ของวัฏจักรทางชีวธรณีเคมีของสารอินทรีย์และธาตุอาหารพืชและกระบวนการยูโทรฟิเคชั่น ในระหว่างปี พ.ศ. 2549-2551 พบว่า ทะเลน้อย กำลังประสบปัญหาหลัก ๆ อยู่สองประการ คือ ความเสื่อมโทรมของคุณภาพสิ่งแวดล้อม สภาวะ ยูโทรฟิเคชั่นและการเปลี่ยนแปลงด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการชีวธรณีเคมีของระบบนิเวศน์ ซึ่งมีสาเหตุหลักเกิดจากมลพิษจากแหล่งต่าง ๆ ที่ระบายลงสู่ทะเลน้อย โดยธาตุฟอสฟอรัส เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญต่อพลวัตร ความถี่ของการเกิดและความรุนแรงของกระบวนการยูโทรฟิเคชั่น ปัญหาทั้งสองด้านที่ทะเลน้อยกำลังประสบนี้ มีการเชื่อมโยงและปฏิสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิดผ่านทางกระบวนการชีวธรณีเคมีระหว่างองค์ประกอบที่มีชีวิตและไม่มีชีวิต โดยจะส่งผลกระทบที่สลับซับซ้อนและเสริมกันต่อระบบนิเวศน์ในภาพรวมและความหลากหลายทางชีวภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งจะเป็นปัจจัยเสริมที่ส่งผลโดยตรงต่อความสมดุลของกระบวนการชีวธรณีเคมีและความเสถียรของระบบนิเวศน์ |
---|