โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการพัฒนาและการสร้างตัวชี้วัดระบบการพัฒนาในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา
โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการและการสร้างตัวชี้วัดระบบการพัฒนาในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโครงการที่อยู่ภายใต้แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการฯ ประกอบด้วย โครงการเร่งรัดพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาปีงบประมาณ พ.ศ.2546 จำนวน 4 โครงการ งบปร...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Format: | Other |
Language: | th_TH |
Published: |
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/16953 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | โครงการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการและการสร้างตัวชี้วัดระบบการพัฒนาในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลามีวัตถุประสงค์เพื่อติดตามผลการดำเนินงานของโครงการที่อยู่ภายใต้แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการฯ ประกอบด้วย โครงการเร่งรัดพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาปีงบประมาณ พ.ศ.2546 จำนวน 4 โครงการ งบประมาณ 21.4 ล้านบาท โครงการภายใต้แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการพัฒนาลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา ปีงบประมาณ พ.ศ.2547 จำนวน 18 โครงการ งบประมาณ 286.25 ล้านบาท และโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 จำนวน 27 โครงการ งบประมาณ 331.66 ล้านบาท โดยรายงานฉบับนี้ได้แสดงความก้าวหน้าในการดำเนินโครงการปีงบประมาณ พ.ศ.2548 ทบทวนการประเมินผลโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2546 และปีงบประมาณ พ.ศ.2547 มีการประเมินโครงการในด้านประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และผลกระทบโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2548 รวมทั้งการติดตามและประเมินผลในภาพรวมของแผนงาน การวิเคราะห์ความสอดคล้องและความสมดุลย์ด้านงบประมาณของแผนงานและโครงการและข้อเสนอแนะเชิงนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมกันนี้ได้ปรับปรุงระบบสารสนเทศเพื่อการติดตามประเมินผลฯ ให้สอดคล้องกับข้อมูลการศึกษาโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ.2548
อนึ่ง ในภาพรวมของโครงการติดตามประเมินผลการดำเนินโครงการภายใต้แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการและการสร้างตัวชี้วัดระบบการพัฒนาในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลาที่มีอยู่ภายใต้แผนงบประมาณในเชิงบูรณาการฯ มุ่งหวังให้การดำเนินโครงการสามารถลดความซ้ำซ้อนด้านการตั้งงบประมาณของแต่ละหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสามารถนำข้อบกพร่องไปพิจารณาปรับปรุงแก้ไขใช้ในการทำงานสำหรับปีต่อไป |
---|