ชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และ บริหารจัดการเมืองเก่า
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งมีคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าทำหน้าที่กำกับดูแล โด...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Format: | Other |
Language: | th_TH |
Published: |
สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/16958 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | th_TH |
Summary: | สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินงานอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์ และเมืองเก่า
พ.ศ. ๒๕๔๖ ซึ่งมีคณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าทำหน้าที่กำกับดูแล โดยที่ผ่านมาเป็นการดำเนินงานในเชิงนโยบาย และจากการสำรวจตรวจสอบข้อมูลในพื้นที่เมืองเก่าพบว่า การรับรู้ของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นทีี่เมืองเก่ายังไม่กว้างขวางนัก สำนักงานฯ จึงจัดทำโครงการพัฒนาขีดความสามารถในการอนุรักษ์และพัฒนาเมืองเก่า โดยการจัดทำชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการเมืองเก่า เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้กับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในพื้นที่เมืองเก่าทุกภาคส่วน เพื่อให้เมืองเก่าซึ่งเป็นแหล่งมรดกทางวัฒนธรรม แหล่งเรียนรู้ และแหล่งท่องเที่ยว
ได้รับการคุ้มครองให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสมการจัดทำชุดความรู้ด้านการอนุรักษ์ พัฒนา และบริหารจัดการเมืองเก่านี้ สำนักงานฯ ได้มอบหมายให้สถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ดำเนินการโดยได้รับความเห็นชอบจากคณะอนุกรรมการกลั่นกรองและพิจารณาแผนการำเนินงานในพื้นที่เมืองเก่า ภายใต้คณะกรรมการอนุรักษ์และพัฒนากรุงรัตนโกสินทร์และเมืองเก่าอีกทั้งได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในการเผยแพร่ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ย่านเก่า สำนักงานฯ หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ชุดความรู้นี้จะก่อให้เกิดผลในทางปฏิบัติเพื่อให้สามารถใข้ประโยชน์ กับเมืองเก่าได้อย่างยั่งยืนถูกต้องตามหลักวิชาการ และสามารถส่งต่อมรดกทางวัฒนธรรมที่มีค่ายิ่งแก่คนรุ่นต่อๆ ไปในอนาคต รวมทั้ง ส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องทั้งชุมชนในพื้นที่ องค์กรต่างๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน มีความตระหนักในการอนุรักษ์ พัฒนาและบริหารจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมของเมืองเก่าให้มีคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดียิ่งขึ้นต่อไป |
---|