ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรี...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นวพล แก้วสุวรรณ, ฐะปะนีย์ เทพญา
Other Authors: Faculty of Humanities and Social Sciences (Library and Information Science)
Format: Theses and Dissertations
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2022
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17418
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี 2) ศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี และ 3) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลและสร้างสมการพยากรณ์ปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา โรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี โดยการประมาณค่าสัดส่วนขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางเครจซี่และมอร์แกน (1970) ด้วยความเชื่อมั่น 95 % และผู้วิจัยใชวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ได้ครูจำนวน 285 คน จากโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี จำนวน 34 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 88 ข้อ มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาระหว่าง 0.6 – 1.0 และค่าความเที่ยงระหว่าง 0.82 – 0.98 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ แบบคัดเลือกเข้า ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.25, S.D. = 0.43) 2) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการยอมรับการนำเทคโนโลยีสารสนเทศสู่การประยุกต์ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี ด้านส่วนบุคคลของครู ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.52) ด้านการสนับสนุน ส่งเสริมและกระตุ้นจากผู้บริหาร ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 0.77) ด้านคุณลักษณะของเทคโนโลยี หรือนวัตกรรม ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.46, S.D. = 0.51) และด้านสภาพบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศทางการสอนของสถานศึกษา ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.09, S.D. = 0.76) และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการนำเทคโนโลยีสารสนเทศ สู่การประยุกต์ ใช้ประกอบการสอนของครูโรงเรียนขยายโอกาส สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปัตตานี จังหวัดปัตตานี อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ ปัจจัยด้านส่วนบุคคลของครู(X1) และปัจจัยด้านสภาพบริบททางสังคม สิ่งแวดล้อม และบรรยากาศทางการสอนของสถานศึกษา (X4) ทั้ง 2 ปัจจัยร่วมกันพยากรณ์ได้ร้อยละ 69.10 และสร้างสมการพยากรณ์ได้ ดังนี้ รูปคะแนนดิบ = 1.464 + .587 (X1) + -.050 (X2) + .008 (X3) + .132 (X4) รูปคะแนนมาตรฐาน Y = .711 (ZX1) + -.089 (ZX2) + .009 (ZX3) + .235 (ZX4)