ความคาดหวังและความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการทุนการศึกษาของงานพัฒนานักศึกษาและส่งเสริมการทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวัง ระดับความพึงพอใจ และเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคาดหวัง และระดับความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการทุนการศึกษาของงานพัฒนาและสงเสริมการทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของค...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2022
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17446 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคาดหวัง ระดับความพึงพอใจ และเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคาดหวัง และระดับความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการทุนการศึกษาของงานพัฒนาและสงเสริมการทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์และเพื่อประเมินความต้องการจำเป็นของความคาดหวังและความพึงพอใจ และศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาเกี่ยวกับการให้บริการทุนการศึกษาของงานพัฒนานักศึกษาและส่งเสริมการทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บแบบสอบถาม ได้แก่ นักศึกษาชั้นบีที่ 1-4 คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปีการศึกษา 2563 จำนวน 400 คน และกลุ่ม
ตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์ได้แก่ ผู้สนับสนุนทุนการศึกษา จำนวน 8 คน และกลุ่มตัวอย่างสำหรับจัดสนทนากลุ่ม ได้แก่ นักศึกษาที่ได้รับทุนการศึกษา ปีการศึกษา 2563 จำนวน 16 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การแจกแจงความถี่, ค่าร้อยละ. ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Paired-Sample Test และ Priority Needs Index: PNImodified
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. นักศึกษามีระดับความคาดหวังต่อการให้บริการทุนการศึกษาของงานพัฒนานักศึกษาและส่งเสริมการทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักศึกษามีความคาดหวังมากที่สุดด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี
2. นักศึกษามีระดับความพึงพอใจต่อการให้บริการทุนการศึกษาของงานพัฒนานักศึกษาและส่งเสริมการทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง และเมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจมากที่สุดด้านสถานที่
3. เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความคาดหวังและระดับความพึงพอใจที่มีต่อการให้บริการทุนการศึกษาของงานพัฒนานักศึกษาและส่งเสริมการทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า นักศึกษามีระดับความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการให้บริการทุนการศึกษาแตกต่างกันมากที่สุด คือ ด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยี
4. การประเมินความต้องการจำเป็นของความคาดหวังและความพึงพอใจต่อการให้บริการทุนการศึกษาของงานพัฒนานักศึกษาและส่งเสริมการทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ พบว่า นักศึกษามีความต้องการจำเป็นในด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีมากที่สุด ดังนั้นจึงควรมีการปรับปรุงหรือพัฒนาด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีเป็นลำดับแรก
5. การศึกษาแนวทางและข้อเสนอแนะสำหรับพัฒนาเกี่ยวกับการให้บริการทุนการศึกษาของงานพัฒนานักศึกษาและส่งเสริมการทำงาน คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่า ผลจากการสัมภาษณ์ผู้สนับสนุนทุนการศึกษา พบว่า ควรมีการปรับปรุงสถานที่ให้เป็นกิจจะลักษณะ และมีแสงสว่างเพียงพอ และระบบการบริจาคทุนสะดวกกว่าที่ผ่านมาแต่ควรปรับปรุงในส่วนของแบนเนอร์ (Banner) ระบบบริจาคทุนการศึกษาควรมองเห็นชัดเจนและค้นหาได้ง่ายบนเว็บไชต์
ผลจากการสนทนากลุ่ม พบว่า ควรมีการพัฒนาด้านอุปกรณ์และเทคโนโลยีโดยเพิ่มช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่หลากหลาย และปรับปรุงระบบการรับสมัครทุนการศึกษาเป็นแบบออนไลน์ ตลอดจนปรับปรุงสถานที่ให้บริการให้มีพื้นที่กว้างสำหรับการนั่งรอเจ้าหน้าที่ |
---|