การศึกษาพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ ประเทศไทย

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ และศึกษาพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาร...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: คมกริช รุมดอน, นวพล แก้วสุวรรณ
Other Authors: Faculty of Humanities and Social Sciences (Library and Information Science)
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, วิทยาเขตปัตตานี 2022
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17552
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับพฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ และศึกษาพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ โดยใช้แบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 ของมหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐบาล ประกอบด้วย มหาวิทยาลัย สงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ และมหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ จำนวน 380 คน โดยการประมาณค่าสัดส่วนขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตาราง Krejcie and Morgan (1970) ด้วยความเชื่อมั่นร้อยละ 95 ด้วยการเทียบบัญญัติไตรยางศ์และผู้วิจัยใช้วิธีการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย การแจกแจงความถี่ และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมการนำความรู้ไปใช้ในการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี สถาบันอุดมศึกษาในภาคใต้ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ในการแลกเปลี่ยนความรู้บนเครือข่ายออนไลน์ในกลุ่มที่มีความสนใจในเรื่องเดียวกันมากที่สุด จำนวน 316 คน (ร้อยละ 83.20) รองลงมาคือ เพิ่มมุมมองหรือแลกเปลี่ยนแนวคิดกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน จำนวน 220 คน (ร้อยละ 57.90) และพัฒนาคุณภาพของชิ้นงานจากการเรียน จำนวน 176 คน (ร้อยละ 46.30) 2. กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้บนเครือข่ายออนไลน์ส่วนใหญ่ใช้โทรศัพท์มือถือในการแลกเปลี่ยนความรู้บนเครือข่ายออนไลน์มากที่สุด จำนวน 354 คน (ร้อยละ 93.20) โดยใช้เวลาในการใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลมากกว่า 7 ชั่วโมง/วัน จำนวน 186 คน (ร้อยละ 48.90) มีความถี่ในการใช้งานอุปกรณ์/เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลทุกวัน จำนวน 216 คน (ร้อยละ 56.80) ทั้งนี้ส่วนใหญ่ใช้เครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับพูดคุยกับเพื่อนมากที่สุด จำนวน 338 คน (ร้อยละ 88.90) ช่วงเวลาที่ใช้เครือข่ายออนไลน์สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ผ่านอุปกรณ์/เครื่องมือเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่ในช่วงเวลา 18.01-24.00 น. จำนวน 177 คน (ร้อยละ 46.60) โดยสถานที่ที่ใช้เครือข่ายออนไลน์สำหรับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ส่วนใหญ่ คือ บ้าน จำนวน 308 คน (ร้อยละ 81.10) แพลตฟอร์มที่ใช้ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ส่วนใหญ่ คือ Facebook Group จำนวน 260 คน (ร้อยละ 68.40) ส่วนใหญ่จะมีการแลกเปลี่ยนความรู้กันเมื่อมีการมอบหมายงานจากรายวิชาต่าง ๆ จำนวน 323 คน (ร้อยละ 85.00) และในส่วนของลักษณะ/กระบวนการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มผ่านการสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ จำนวน 313 คน (ร้อยละ 82.40) มีการจดบันทึกความรู้/กิจกรรมในการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่ม จำนวน 233 คน (ร้อยละ 61.30) มีการจัดเก็บความรู้ที่ได้จากการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มผ่านเครือข่ายออนไลน์ จำนวน 242 คน (ร้อยละ 63.70) และมีการเผยแพร่ความรู้จากการแลกเปลี่ยนความรู้กับเพื่อนในกลุ่มผ่านเครือข่ายออนไลน์ จำนวน 168 คน (ร้อยละ 44.20) 3. พฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ̅ = 4.14) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยพฤติกรรมการสนับสนุนทีม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( ̅ = 4.25) รองลงมาคือ พฤติกรรมการรับฟังความเห็นของทีม ( ̅ = 4.17) พฤติกรรมการสื่อสารในทีม ( ̅ = 4.13) พฤติกรรมการร่วมหาข้อสรุปและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ( ̅ = 4.13) และพฤติกรรมการวิเคราะห์ปัญหา ( ̅ = 4.00) 4. ระดับพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( ̅ = 4.20) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมากทุกข้อ โดยด้านการเรียนการสอน มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด ( ̅ = 4.30) รองลงมาคือด้านการสร้างเครือข่ายทางการศึกษา ( ̅ = 4.24) ด้านการทบทวนบทเรียน ( ̅ = 4.16) ด้านการส่งเสริมกระบวนการเรียนรู้ ( ̅ = 4.15) และด้านการอภิปรายร่วมกัน ( ̅ = 4.13) การประยุกต์ใช้จากการศึกษานี้สามารถนำไปใช้ในการออกแบบบริการสารสนเทศด้านการจัดการเรียนการสอน สื่อทรัพยากรสารสนเทศในรูปแบบดิจิทัลคอลเล็กชัน รวมถึงการนำไปใช้ออกแบบเครื่องมือสำหรับ การเข้าถึงสารสนเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพของผู้เรียนในการจัดการเรียนรู้บนเครือข่ายออนไลน์ในยุควิถีการศึกษาใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีที่มีความแตกต่างกันของกลุ่มคณะที่ศึกษาเพื่อนำไปสู่การจัดสรรทรัพยากรสารสนเทศที่เหมาะสมกับกลุ่มของศาสตร์สาขาวิชา รวมถึงได้แนวทางการแลกเปลี่ยนความรู้และเตรียมความพร้อมในการจัดการเรียนการสอนบนเครือข่ายออนไลน์ และในขั้นสุดท้ายจะส่งผลให้ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปกำหนดเป็นแนวทางในการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยน แบ่งปันความรู้บนเครือข่าย สื่อออนไลน์ในยุควิถีการศึกษาใหม่ ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของนักศึกษาระดับปริญญาตรีเพื่อสร้างความคุ้นเคยในการศึกษาในระดับอุดมศึกษา รองรับการศึกษาที่เท่าเทียม ทั่วถึงและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต