โครงการสถานความรู้งานวิจัยด้านปาล์มน้ำมัน

วัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อ 1) ประมวลและสรุปสถานภาพความรู้ของผลงานวิจัยต้านการผลิตและการตลาตปาล์มน้ำมันของไทย 2) ประมวลงานวิจัยด้านปาล์มน้ำมันของประเทศมาเลเชียและอินโดนีเชีย เพื่อเปรียบเทียบสถานภาพงานวิจัยด้านปาล์มน้ำมันกับประเทศไทย 3) วิเคราะห์ประเด็นปัญหาและเสนอแนะงานวิจัยที่ควรศึกษาของประเทศไทย โด...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สุทธิจิตต์ เชิงทอง, สุชาติ เชิงทอง, ยุวดี ลีเบ็น
Other Authors: Faculty of Liberal Arts and Management Sciences
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2022
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17589
https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/300873
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์งานวิจัยเพื่อ 1) ประมวลและสรุปสถานภาพความรู้ของผลงานวิจัยต้านการผลิตและการตลาตปาล์มน้ำมันของไทย 2) ประมวลงานวิจัยด้านปาล์มน้ำมันของประเทศมาเลเชียและอินโดนีเชีย เพื่อเปรียบเทียบสถานภาพงานวิจัยด้านปาล์มน้ำมันกับประเทศไทย 3) วิเคราะห์ประเด็นปัญหาและเสนอแนะงานวิจัยที่ควรศึกษาของประเทศไทย โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานวิจัย วิทยานิพนธ์ สารนิพนธ์ บทความวิจัย รายงานประชุมวิซาการ ของหน่วยงานภาครัฐ เอกชน ที่ทำวิจัยหรือให้ทุนสนับสนุนวิจัยด้านปาล์มน้ำมันในประเทศไทย และสืบค้นงานวิจัยของประเทศมาเลเชีย และอินโดนีเซีย ที่มี การเผยแพร่เป็นภาษาอังกฤษผ่านระบบอินเทอร์เน็ต ในช่วง 20 ปี ระหว่างปี 2540 - 2559 การสัมภาษณ์เซิงลึกเพื่อทวนสอบข้อมูล และการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการสังเคราะห์เนื้อหาเพื่อหา บทสรุป การวิเคราะห์เชิงกลยุทธ์ เพื่อจัดลำดับความสำคัญของปัญหาวิจัย ผลการศึกษา ได้แบ่งงานวิจัยด้านปาล์มน้ำมันเฉพาะส่วนต้นน้ำเกี่ยวข้องกับการผลิตก่อนส่งเข้าสู่โรงงานแปรรูปในประเทศไทยเป็น 3 ด้าน คือ 1) การผลิต ครอบคลุมด้านพันธุ์ การปลูก การดูแลรักษาสวน การจัตการติน ปุ๋ยและน้ำ การจัดการโรคพืช แมลง วัชพืช ศัตรูพืช 2) การตลาตและเศรษฐศาสตร์ การศึกษาโซ่อุปทานและโลจิสติกส์ ต้นทุนผลตอบแทนการผลิต ความคุ้มค่าการลงทุน ระบบการตลาด ราคา และ 3) มาตรการและนโยบายของรัฐ เมื่อเปรียบเทียบสถานภาพงานวิจัยระหว่างไทย มาเลเซียและอินโดนีเซีย พบว่า ทิศทางการพัฒนาด้านการผลิตมีความคล้ายคลึงกัน แต่ยังมีความแตกต่างกัน ด้านหน่วยงานกำกับดูแล โดยหน่วยงานของประเทศมาเลเซีย อินโดนีเชีย ทำหน้าที่กำกับดูแล กำหนตแนวทางในการวิจัยและพัฒนา ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ แต่ประเทศไทยนั้น การทำหน้าที่กำกับ ดูแลและกำหนดนโยบายยังปฏิบัติแบบแยกส่วนกัน การผสิต โรงงาน การค้า การแปรรูป มีการดูแลกำกับโดยคนละหน่วยงานกัน ส่วนด้านการตลาต พบว่า จากโครงสร้างอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยและมาเลเซียมีความแตกต่างกัน ทำให้ลักษณะงานวิจัยด้านการตลาดมีความแตกต่างกัน งานวิจัยด้านการตลาดของมาเลเซียมีลักษณะของการบูรณาการผลิตและการจัดการจากสวนปาล์มสู่โรงงานแปรรูปในรูปน้ำมันปาล์มเป็นหลัก โดยไม่กล่าวถึงการขายในรูปทะลาย ปาล์มน้ำมัน ด้านมาตรการและนโยบายส่งเสริมของประเทศไทย ประกอบด้วยมาตรการนโยบายส่งเสริมด้านอุปสงค์ อุปทานของน้ำมันปาส์มในประเทศ การขยายพื้นที่ปลูก การควบคุมส่งเสริมคุณภาพเพื่อเข้าสู่มาตรฐาน การรักษาเสถียรภาพ ด้านราคาผ่านการแทรกแชงการรับซื้อและควบคุม การนำเข้าน้ำมันปาล์ม สำหรับประเทศมาเลเชียและอินโดนีเชียจะเน้นนโยบายด้านการแข่งขัน การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (RS PO) ด้านผลกระทบสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาสู่อุตสาหกรรมโอลิโอเคมิคอล แทนการขายน้ำมันปาล์ม การสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลพลอยได้ของปาล์ม สำหรับทิศทางงานวิจัย พบว่าการศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบของหน่วยงานวิจัยเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์ และเป้าหมายของการพัฒนาอุตสาหกรรมปาล์มในระดับประเทศให้มีเอกภาพและ ความชัดเจนเป็นสิ่งจำเป็น นอกจากนี้ คือการปรับปรุงระบบการบริหารงานวิจัยให้เกิดความรวดเร็วและคล่องตัวในการทำงานวิจัย สำหรับงานวิจัยที่มีความเร่งด่วนในการแก้ไขคือ ด้านมาตรการและนโยบายรัฐ ด้านการตลาดและเศรษฐศาสตร์ และด้านการผสิต ตามลำดับ