การพัฒนาการใช้ปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันโดยการวิเคราะห์ตัวอย่างใบ

การใช้ปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันโดยใช้ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างใบเพื่อกำหนดปริมาณการใช้ปุ๋ยในปีถัดไป ถือว่าเป็นกระบวนการจัดการปุยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งวิธีการดังกล่าวยังไม่เป็นที่ แพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาส์มน้ำมันของประเทศไทย จากการสำรวจข้อมูลการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 1,330...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ประกิจ ทองคำ, ธีระพงศ์ จันทรนิยม, ธีรภาพ แก้วประดับ, อัจฉรา เพ็งหนู, ปราณี สุวรรณรัตน์
Other Authors: Faculty of Natural Resources (Faculty secretary office)
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2022
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/17622
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:การใช้ปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันโดยใช้ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างใบเพื่อกำหนดปริมาณการใช้ปุ๋ยในปีถัดไป ถือว่าเป็นกระบวนการจัดการปุยที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด ซึ่งวิธีการดังกล่าวยังไม่เป็นที่ แพร่หลายในกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาส์มน้ำมันของประเทศไทย จากการสำรวจข้อมูลการใช้ปุ๋ยของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 1,330 ราย ในพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมันในภาคใต้ของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดกระบี่ (194 ราย) จังหวัดสุราษฎร์ธานี (400 ราย) จังหวัดชุมพร (154 ราย) จังหวัดตรัง (111 ราย) จังหวัฒนครศรีธรรมราช (295 ราย) จังหวัดพังงา (96 ราย) จังหวัดระนอง (30 ราย) และจังหวัดสงขลา (50 ราย) พบว่า 34.18 เปอร์เซ็นต์ ของเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันไม่ทราบว่ามีวิธีการใช้ปุยโดยใช้ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างใบ จำนวน 53.66 เปอร์เซ็นต์ เคยได้ยินว่ามีวิธีการตังกล่าวมีเพียง 12.16 เปอร์เซ็นต์ ที่เข้าใจการใช้ปุ๋ยวิธีดังกล่าว และในกลุ่มนี้มีเพียง 7.92 เปอร์เซ็นต์ ที่ได้นำวิธีการใช้ปุ๋ยสำหรับปาล์มน้ำมันโดยใช้ค่าวิเคราะห์ตัวอย่างใบไปปฏิบัติจริง โครงการวิจัยนี้ได้ดำเนินการให้ความรู้และฝึกอบรมวิธีการเก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมันที่ถูกต้อง การส่งตัวอย่างใบวิเคราะห์ธาตุอาหาร และการอ่านค่าวิเคราะห์เพื่อกำหนดการใช้ปุ๋ยในปีถัดไป พบว่า เกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมากกว่า 85 เปอร์เซ็นต์ มีความเข้าใจกระบวนการต่าง ๆ ซึ่งเมื่อสอบถามถึงความเชื่อมั่นในการใช้กระบวนการดังกล่าวเพื่อกำหนดการใช้ปุย พบว่า 60.51 เปอร์เซ็นต์ของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมมีความเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่าวิธีการใช้ปุ๋ยดังกล่าวได้ผล 31.33 เปอร์เซ็นต์ ของเกษตรกรที่เข้าอบรมยังไม่แน่ใจในวิธีการใช้ปุ๋ยนี้ และ 8.16 เปอร์เซ็นต์ ของเกษตรกรที่เข้าอบรมคิดว่าวิธีการใช้ปุยดังกล่าวไม่น่าเป็นไปได้ หลังจากการฝึกอบรมแล้วเกษตรกรที่มีความสนใจและเชื่อมั่นในวิธีการใช้ปุ๋ยดังกล่าว จะดำเนินการเก็บตัวอย่างใบปาล์มน้ำมัน ส่งตัวอย่างใบวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหาร (เกษตรกรเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายเอง และคำนวณการใช้ปุ๋ยในปีถัดไป โดยพบว่ามีเกษตรกรที่ดำเนินการในขั้นตอนนี้ จำนวน 213 ราย คิดเป็น 26.47 เปอร์เซ็นต์ ของเกษตรกรที่มีความเชื่อมั่นอย่างยิ่ง หรือ 16.02 เปอร์เซ็นต์ ของเกษตรกรที่เข้ารับการฝึกอบรมทั้งหมด