การพัฒนาอนุพันธ์ Mitragynine ที่คาดว่ามีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetylcholinesterase

ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของสมองบกพร่องในด้านการรู้คิด ส่งผลกระทบ ต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ซึ่งสาเหตุที่พบได้มากที่สุด คือ การเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดย พยาธิวิทยาของโรคอัลไซเมอร์คือการมีปริมาณของสารสื่อประสาท Acetylcholine (ACh) ในสมอง ลดลงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ลือลักษณ์ ล้อมลิ้ม, วรมย์ญลิน ทิพย์มณี, จุไรทิพย์ หวังสินทวีกุล
Other Authors: Faculty of Pharmaceutical Sciences (Pharmaceutical Chemistry)
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 2023
Subjects:
Online Access:http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18136
https://research.psu.ac.th/findproject/reDetail.php?pro_id=24712
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Prince of Songkhla University
Language: Thai
Description
Summary:ภาวะสมองเสื่อม เป็นภาวะที่สมรรถภาพการทำงานของสมองบกพร่องในด้านการรู้คิด ส่งผลกระทบ ต่อความสามารถในการประกอบกิจวัตรประจำวัน ซึ่งสาเหตุที่พบได้มากที่สุด คือ การเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดย พยาธิวิทยาของโรคอัลไซเมอร์คือการมีปริมาณของสารสื่อประสาท Acetylcholine (ACh) ในสมอง ลดลงจากความเสียหายที่เกิดขึ้นบริเวณ Cholinergic neuron และนอกจากนี้การลดลงของ ACh ยังเกี่ยวข้องกับเอนไซม์ AcetyIcholinesterase (AChE) และ ButyryIcholinesterase (BChE) ซึ่งทำหน้าที่ย่อยสลาย ACh โดยกระบวนการ Hydrolysis โดยยากลุ่มหลักที่ใช้ในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ใน ปัจจุบันคือยากลุ่ม AcetyIcholinesterase Inhibitors (AChEls) และสืบเนื่องจากปีพ.ศ. 2564 พืชกระท่อม ได้รับการปลดออกจากบัญชียาเสพติด ประเภทที่ 5 ทำให้สามารถปลูกไว้เพื่อครอบครอง ซื้อขาย และบริโภค ได้โดยไม่ผิดกฎหมาย รวมถึงมีการศึกษาเกี่ยวกับการสกัดและการทดสอบฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ Mitragynine ซึ่งเป็นสารในกลุ่ม alkaloids ที่สกัดได้จากพืชกระท่อม (Mytragyna speciosa) พบว่ามีฤทธิ์ anti-AChE activity และ anti-BChE activity ผู้วิจัยจึงทำการสกัด Mitragynine และสังเคราะห์อนุพันธ์ Hydrazide และ Amide ของ Mitragynine โดยใช้ปฏิกิริยา Aminolysis เพื่อหวังพัฒนา Mitragynine ให้มี ฤทธิ์ที่ดีขึ้นและลดผลข้างเคียงให้น้อยที่สุด อย่างไรก็ตาม ระหว่างการสังเคราะห์ได้เกิดการสลายตัวของสารใน ปฏิกิริยา และเกิดผลิตภัณฑ์ขึ้นหลายตัว แต่เมื่อทำการทดสอบเอกลักษณ์แล้วพบว่าไม่ใช่สารที่คาดหวัง โดย ผู้วิจัยคาดว่าเกิดจากตำแหน่งที่ต้องการทำให้เกิดปฏิกิริยาของ Mitragynine มีหมู่แทนที่ข้างเคียงขนาดใหญ่ ซึ่งอาจบดบังการเกิดปฏิกิริยาได้ อีกทั้งสารตั้งต้น Mitragynine ที่ได้จากการสกัดยังไม่บริสุทธิ์เท่าที่ควร จึงอาจ มีสารบางตัวที่ปนเปื้อนมาสามารถแข่งขันในการเกิดปฏิกิริยาได้ดีกว่า Mitragynine อีกทั้งผู้วิจัยได้ เปลี่ยนแปลงวิถีสังเคราะห์เป็นการนำ Mitragynine มาทำปฏิกิริยา Hydrolysis ก่อนที่จะนำไปตั้งปฏิกิริยาต่อ เพื่อคาดหวังให้ได้ผลิตภัณฑ์ตามที่ต้องการ แต่พบว่าสารที่ได้ยังไม่มีความบริสุทธิ์เพียงพอที่จะนำไปพิสูจน์ เอกลักษณ์ก่อนนำไปทำการสังเคราะห์ในขั้นถัดไป