ชุดโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคระบาดโควิด 19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอตอนล่าง ของจังหวัดสงขลา
ชุดโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอตอนล่าง ของจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อบริหารจัดการและสนับสนุนให้โครงการวิจัยย่อยทุกโครงการให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยดำเนินการใน 3 มิติ...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2023
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18146 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/1032893 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | Thai |
Summary: | ชุดโครงการการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้และ 4 อำเภอตอนล่าง ของจังหวัดสงขลา มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อบริหารจัดการและสนับสนุนให้โครงการวิจัยย่อยทุกโครงการให้ดำเนินการไปอย่างมีประสิทธิผลและประสิทธิภาพ โดยดำเนินการใน 3 มิติ คือ การบริหารจัดการงาน การบริหารจัดการคน และการบริหารจัดการความรู้ 2) เพื่อสังเคราะห์ความรู้จากโครงการวิจัยย่อยทุกโครงการด้วยงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นให้เป็นความรู้ที่สามารถอธิบายถึงลักษณะปัญหาของกลุ่มเป้าหมายที่แตกกต่างกันในแต่ละโครงการย่อย เงื่อนไขที่ทำให้เกิดปัญหา และวิธีการ/กระบวนการแก้ปัญหา 3) เพื่อนำความรู้ที่ได้จากการสังเคราะห์ความรู้ดังกล่าวไปขยายผลให้เป็นความรู้สาธารณะให้เกิดผลทางนโยบายระดับต่าง ๆ โครงการวิจัยย่อยทั้งหมดได้ดำเนินการใน 17 พื้นที่ของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และ 4 อำเภอตอนล่างจังหวัดสงขลา มีกลุ่มเป้าหมายประกอบด้วย กลุ่มครอบครัวด้อยโอกาส กลุ่มคนยากจน กลุ่มคนตกงาน กลุ่มชาวประมงพื้นบ้าน และกลุ่มเกษตรกรชาวนาจำนวน 316 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามกึ่งโครงสร้าง และถอดบทเรียนทีมพี่เลี้ยงชุดประสานประเด็นการบริหารจัดการ และหนุนเสริมโครงการย่อย ภายใต้แนวคิด 5 M ประกอบด้วย 1) คน (Manpower) 2) เงิน (Money) 3) วัสดุและอุปกรณ์ (Material) 4) วิธีการหรือกระบวนการ (Method) และ 5) การบริหารจัดการ (Management) ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหานำเสนอข้อมูลโดยการบรรยายพรรณนา การดำเนินกิจกรรมมีการประสานกับหน่วยงานทั้งใน และนอกพื้นที่มาให้ความรู้ในเรื่องประเด็นต่าง ๆ ที่ชุมชนสนใจทั้งหมด 11 หน่วยงาน เช่น ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งปัตตานี ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวจังหวัดปัตตานี สาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตรและประมง มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี และสำนักงานเกษตรอำเภอสุคิริน เป็นต้น ผลจากการสังเคราะห์ข้อมูลจาก 7 โครงการย่อย เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงในด้านต่าง ๆ ของกลุ่มเป้าหมายดังนี้ 1) ด้านรายได้ พบว่า มีจำนวน 3 โครงการที่แสดงให้เห็นว่ากลุ่มเป้าหมายมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด มีจำนวน 2 โครงการที่แสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อย เช่น โครงการศึกษาการบริหารจัดการและการนำทรัพยากรประมงมาใช้ประโยชน์เพื่อเสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก กรณีศึกษาการเพาะเลี้ยงหอยบริเวณแนวเสาคอนกรีตชะลอคลื่น บ้านตันหยงเปาว์ จ.ปัตตานี กลุ่มเป้าหมายมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวต่อเดือนก่อนและหลังดำเนินโครงการ คือ 2,804 บาท และ 3,215 บาท ตามลำดับ 2) ด้านการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชน พบว่า มีจำนวน 3 โครงการที่แสดงให้เห็นถึงการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชนอย่างเห็นได้ชัด มีจำนวน 2 โครงการที่แสดงให้เห็นถึงการจัดการทรัพยากรในชุมชนอย่างเห็นได้ชัด และมีจำนวน 1 โครงการที่มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรในชุมชนแบบทางอ้อม เช่น โครงการขยายพื้นที่ปลูกพืชผักร่วมกันบนพื้นที่สาธารณะชุมชนบ้านไอจือเราะ ตำบลโมง อำเภอสุคิริน จังหวัดนราธิวาส มีการใช้ที่ดินสาธารณะจำนวน 20 ไร่ และชุมชนได้กำหนดกติกาข้อตกลงการใช้ที่ดินร่วมกัน 1 ฉบับ 3) ด้านความรู้ และศักยภาพของชุมชน พบว่า ชุมชนมีศักยภาพในการทำงานเป็นกลุ่มมากขึ้น ชุมชนมีความรู้ในการสร้างต้นทุนการผลิตมากขึ้น และชุมชนมีศักยภาพในการพึ่งตนเองมากขึ้น เป็นต้น และ 4) ด้านการเสริมพลัง พบว่า กลุ่มเป้าหมายมีประสบการณ์การหาตลาดมากขึ้น มีการแบ่งปันผลผลิต และมีโอกาสเข้าถึงวิสาหกิจชุมชนหรือสหกรณ์ออมทรัพย์ของชุมชนมากขึ้น เป็นต้น ทั้งนี้ในแต่ละโครงการวิจัยย่อยได้ขยายผลความรู้และข้อค้นพบสู่สาธารณะ บางพื้นที่มีหน่วยงานของรัฐรับไปบรรจุในแผนการทำงานของหน่วยงานในการขยายผลไปยังพื้นที่ใกล้เคียงในโอกาสต่อไป เช่น อบต.โฆษิต อำเภอตากใบ จังหวัดนราธิวาสจะนำแนวทางการส่งเสริมอาชีพในรูปแบบงานวิจัยไปใช้กับชุมชนอื่น ๆ ในตำบล |
---|