โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดสงขลาแบบสร้างสรรค์
โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดสงขลาแบบสร้างสรรค์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณใน การดำเนินงานจากความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.) ม.อ. ได้มอบหมายหน้าที่ "หน่วยจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่" ให้เป็นภารกิจใหม่ของสำนักงานประสา...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2023
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/18156 https://tnrr.nriis.go.th/#/services/research-report/detail/309137 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | Thai |
Summary: | โครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่จังหวัดสงขลาแบบสร้างสรรค์ ได้รับการสนับสนุนงบประมาณใน
การดำเนินงานจากความร่วมมือของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) และ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ (ม.อ.)
ม.อ. ได้มอบหมายหน้าที่ "หน่วยจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่" ให้เป็นภารกิจใหม่ของสำนักงานประสานงานวิจัย
รมและชุมชน (Community and Industry Linking Office หรือ CILO) ซึ่งเป็นหน่วยงานภา
ของสำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ. โดยมีขั้นตอนการดำเนินงานตามรูปแบบของ สกว. 6 ขั้นตอน ประกอบด้วย 1) การ
พัฒนาโครงการวิจัย 2) การควบคุมคุณภาพ 3) การสร้างเครือข่ายวิจัยเชิงพื้นที่ 4) การพัฒนาระบบงานเพื่อสนับสนุน
นักวิจัย 5) การพัฒนา "นักจัดการการวิจัย" และ 6) การผลักดันผลงานวิจัยเพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ และมี "สำนัก
ประสานงาน ชุดโครงการ การวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ 4 จังหวัดภาคใต้ตอนกลาง" ซึ่งต่อมาเปลี่ยนซื่อเป็น "สำนัก
ประสานงาน ชุดโครงการ การวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง" เป็นพี่เลี้ยง เริ่มดำเนินกิจกรรมมาตั้งแต่ ปี
พ.ศ. 2555 โดยการพัฒนาโจทย์วิจัยและอุดหนุนทุนวิจัยเชิงพื้นที่ด้าน "การป้องกันและแก้ไขปัญหาน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัด
สงขลา" ต่อเนื่องถึง 2 ปี (พ.ศ. 2555 - 2556) การอุดหนุนงบประมาณแบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่ 1) ทุนสนับสนุนการ
วิจัยระดับอาจารย์/นักวิจัย จำนวน 8 โครงการ และ 2) ทุนอุดหนุนการวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา (เพื่อการทำวิทยานิพนธ์)
จำนวน 5 โครงการ รวมทั้งสิ้น จำนวน 13 โครงการ
โครงการความร่วมมือ ๆ กลายเป็นกลไกหนึ่งของ ม.อ. ในการขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่หรืองานวิจัยรับใช้
สังคม ช่วยให้นักวิจัยสามารถเชื่อมโยงการทำงานกับชุมชน ช่วยยกระดับการเรียนรู้ของชุมชน นักวิจัยสามารถผลิตผล
งานวิจัยเซิงพื้นที่หรือผลงานวิจัยรับใช้สังคม และนำไปขอตำแหน่งทางวิซาการได้ ม.อ. สามารถนำกลไกความร่วมมือ ฯ
และกลไกการบริหารจัดการงานวิจัยเชิงพื้นที่นี้ไปปรับใช้/ขยายผลเพื่อเพิ่มจำนวนโครงการวิจัย/ผลงานวิจัยเชิงพื้นที่ใน
อนาคตได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนั้น "สำนักประสานงาน ชุดโครงการ การวิจัยและพัฒนาเชิงพื้นที่ภาคใต้ตอนกลาง" ยัง
ได้รับการสนับสนุนงบประมาณต่อเนื่องจาก สกว. เพื่อขับเคลื่อนนโยบาย "Engagement" โดยปรับสถานะเป็น
หน่วยงานภายใน ม.อ. เปลี่ยนชื่อเป็น "หน่วยพันธกิจสัมพันธ์มหาวิทยาลัยกับสังคม" (University Social Engagement
Unit หรือ USE) มีสำนักงานอยู่ในฝ่ายเดียวกันกับ CILO ภายใต้สำนักวิจัยและพัฒนา ม.อ. และเริ่มดำเนินภารกิจต่าง ๆ
ในบริบทของ ม.อ. ต่อไป |
---|