การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2566
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Theses and Dissertations |
Language: | Thai |
Published: |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
2023
|
Subjects: | |
Online Access: | http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19254 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Prince of Songkhla University |
Language: | Thai |
id |
th-psu.2016-19254 |
---|---|
record_format |
dspace |
institution |
Prince of Songkhla University |
building |
Khunying Long Athakravi Sunthorn Learning Resources Center |
continent |
Asia |
country |
Thailand Thailand |
content_provider |
Khunying Long Athakravi Sunthorn Learning Resources Center |
collection |
PSU Knowledge Bank |
language |
Thai |
topic |
health impact assessment community-based tourism projects Trang provincial development plan การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน แผนพัฒนาจังหวัดตรัง |
spellingShingle |
health impact assessment community-based tourism projects Trang provincial development plan การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน แผนพัฒนาจังหวัดตรัง เชภาดร จันทร์หอม การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง |
description |
วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2566 |
author2 |
เพ็ญ สุขมาก |
author_facet |
เพ็ญ สุขมาก เชภาดร จันทร์หอม |
format |
Theses and Dissertations |
author |
เชภาดร จันทร์หอม |
author_sort |
เชภาดร จันทร์หอม |
title |
การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง |
title_short |
การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง |
title_full |
การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง |
title_fullStr |
การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง |
title_full_unstemmed |
การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง |
title_sort |
การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง |
publisher |
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |
publishDate |
2023 |
url |
http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19254 |
_version_ |
1787137886653513728 |
spelling |
th-psu.2016-192542023-12-20T08:45:58Z การประยุกต์ใช้การประเมินผลกระทบทางสุขภาพในการประเมินโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง The Application of Health Impact Assessment for Assessing Community-Based Tourism Projects of Trang Provincial Development Plan เชภาดร จันทร์หอม เพ็ญ สุขมาก Health System Management Institute สถาบันการจัดการระบบสุขภาพ health impact assessment community-based tourism projects Trang provincial development plan การประเมินผลกระทบทางสุขภาพ โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชน แผนพัฒนาจังหวัดตรัง วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (การจัดการระบบสุขภาพ), 2566 The purpose of this study was to assess the economic, social, environmental and health impacts of the community-based tourism projects of Trang provincial development plan according to the ecotourism promotion and development strategies in order to continuously generate income. The following processes of health impact assessment were applied. 1) Public screening and scoping: This process was conducted to study the situation of community-based tourism in Trang Province and establish the linkage between the community-based tourism policies at the national level to the provincial level and determine the scope of content and evaluation indicators. In-depth interviews were administered with 6 key informants, and group discussions were organized for public screening and scoping with 22 stakeholders from government, local, private, public sectors and media. 2) Assessing: It was conducted to assess both positive and negative impacts on the economy, society, environment and health from the community-based tourism projects of Trang provincial development plan. Group discussions were organized with 25 stakeholders. 3) Public review and influencing: It was conducted to examine the accuracy and completeness of the information in the economic, social, environmental and health impact assessment report and to develop policy recommendations for improving the community-based tourism projects of Trang provincial development plan and propose the proposals for community-based tourism development in Trang Province. Group discussions were organized with 12 stakeholders. The research tools used in each process included the semi-structured in-depth interview form and the group discussion questions. In terms of the content validity, the IOC of the semi-structured in-depth interview form was 0.67-1.00. The IOC of the group discussion questions was 1.00. Data were analyzed by content analysis. The results of the public screening revealed that the participants in the focused group discussions had a consensus that the impacts of the community-based tourism should be assessed in the provincial development plan. The objectives of the impact assessment were defined for learning and development. The assessment results were also used the to determine future community-based tourism options. When considering the projects to be evaluated, it was found that in Trang provincial development plan (2018-2019), 4 projects were selected to be evaluated, namely the project of increasing the tourism competitiveness in Trang Province in 2018; the workshop for community-based tourism personnel in Trang Province; the project of increasing the tourism competitiveness in Trang Province in 2019 and the community-based tourism project for good and sustainable quality of life in Trang Province. The results of the public scoping of content and evaluation indicators revealed 4 dimensions of assessment: economy (3 indicators), society and culture (8 indicators), environment (5 indicators) and health (2 indicators). The assessment results of each indicator were as follows. Economy: The income generation of people in the community and organizations related to community-based tourism in Trang Province in the areas of Na Muen Si Subdistrict, Pak Jam Subdistrict, and the members of Kantang Hot Spring Health Product Community Enterprise was directly affected. The following negative impacts were also found. The network of Thai traditional medicine and folk healers was unable to produce herbal compress balls, and Na Muen Si Weaving Group cannot produce bags made from palmyra fibers for sale. Society and culture: Na Muen Si Subdistrict and Pak Jam Subdistrict were directly affected. People in these areas gathered, conserved and restored cultural heritage and wisdom of the community. The cultural lifestyles were spread, making the communities well-known and more famous within the province and among other provinces. The participation of network partners was also supported to link community-based tourism at the provincial level. Environment: The community-based tourism projects in the provincial development plan did not directly affect the environment. However, indirect impacts were found later in Na Muen Si Subdistrict, resulting in physical environment adjustment, road construction, and installation of light poles. On the other hand, it was found that tourism growth increased land sales for external investors. Negatively, this issue has changed a purpose of land uses of local farmer from doing agriculture to investment. The following issue was that those properties obstructed water flows which affected the rest of agricultural areas. Health: The community-based tourism projects affected the happiness of people in the community in terms of propagating the community’s way of life and culture, generating income, and the happiness of tourists who experience the retro atmosphere and community culture. The negative impacts raised concerns among the leaders of herbal compress ball development activities who were unable to produce the herbal compress balls as planned. The important proposals for the development of community-based tourism projects in Trang Province were as follows. 1) The working group of the provincial development plan on the tourism strategy should develop the community-based tourism projects as a series of projects separated from the mainstream tourism that covers the development of people capacity, products, marketing and public relations. 2) The Trang Provincial Office of Tourism and Sport should promote Lok Lom Na Muen Si Festival and cultural arts festivals to be international events. Fifteen proposals were also purposed to the working group for grassroots economic and civil state development of Trang Province to develop community-based tourism in Trang Province in 5 aspects: development of a strong working group mechanism, development of tourism personnel potential, development of tourist attractions, development of products and marketing and public relations. This assessment allows the participants who are the representatives of the organizations responsible for the projects and the stakeholders involved in the community-based tourism projects of the provincial development plan to learn about the situation of community-based tourism in Trang Province as well as positive and negative impacts from previous projects together. In addition, the policy recommendations have been made to improve the community-based tourism projects of the provincial development plan. The proposals for community-based tourism development in Trang Province have also been proposed to reduce negative impacts, create positive impacts and focus on sustainable tourism development. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลกระทบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ จากโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมและพัฒนา การท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์ให้มีคุณภาพเพื่อสร้างรายได้อย่างต่อเนื่องของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง วิธีการวิจัยประยุกต์ใช้ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ ดังนี้ 1) ขั้นตอนการกลั่นกรองนโยบายและกำหนดขอบเขตแนวทางการประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยสาธารณะ เพื่อศึกษาสถานการณ์ การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง จัดทำความเชื่อมโยงของนโยบายการท่องเที่ยวโดยชุมชนระดับชาติถึงระดับจังหวัด กำหนดขอบเขตเชิงเนื้อหาและตัวชี้วัดการประเมินผล โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 6 คน และการประชุมกลุ่มเพื่อกลั่นกรองและกำหนดขอบเขตโดยสาธารณะร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จากภาครัฐ ท้องถิ่น เอกชน ประชาชน และสื่อมวลชน จำนวน 22 คน 2) ขั้นตอนการประเมินผลกระทบทางสุขภาพ เพื่อประเมินผลกระทบทั้งทางบวกและทางลบด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพจากโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัด โดยการประชุมกลุ่มกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 25 คน 3) ขั้นตอนการทบทวนร่างรายงานการประเมินผลกระทบและผลักดันสู่การตัดสินใจ เพื่อตรวจสอบความถูกต้องครบถ้วนของข้อมูล ในรายงานการประเมินผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อม และสุขภาพ และพัฒนาข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการปรับปรุงโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัด และข้อเสนอต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง โดยการประชุมกลุ่มกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย จำนวน 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในแต่ละขั้นตอนประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แนวคำถามในการประชุมกลุ่ม การตรวจสอบเครื่องมือ พิจารณาความถูกต้องของเนื้อหา เครื่องมือแบบสัมภาษณ์เชิงลึกกึ่งโครงสร้างแนวคำถามรายข้อ ได้ค่า IOC=0.67-1.00 และแนวคำถามประชุมกลุ่มได้ค่า IOC=1.00 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการกลั่นกรองโดยสาธารณะ พบว่า ผู้เข้าร่วมในเวทีประชุมกลุ่มย่อย มีมติร่วมกันเห็นว่าควรประเมินผลกระทบจากการท่องเที่ยวโดยชุมชนในแผนพัฒนาจังหวัด โดยได้กำหนดวัตถุประสงค์การประเมินผลกระทบเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา และนำผลการประเมินมากำหนดทางเลือกการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนในอนาคต โดยมีการพิจารณาคัดเลือกโครงการท่องเที่ยวโยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรัง พ.ศ. 2561 – 2562 ที่จะต้องประเมิน 4 โครงการ คือ โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวจังหวัดตรังปี พ.ศ. 2561 โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการแก่บุคลากรด้านการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง โครงการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันด้านการท่องเที่ยวจังหวัดตรังปี พ.ศ. 2562 โครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีและยั่งยืนจังหวัดตรัง ผลการกำหนดขอบเขตเชิงเนื้อหาและตัวชี้วัดการประเมินพบว่า มีมิติการประเมิน 4 มิติคือ มิติทางเศรษฐกิจ 3 ตัวชี้วัด มิติทางสังคมวัฒนธรรม 8 ตัวชี้วัด มิติทางสิ่งแวดล้อม 5 ตัวชี้วัด และมิติทางสุขภาพ 2 ตัวชี้วัด ผลการประเมินตามตัวชี้วัดแต่ละมิติดังนี้ ด้านเศรษฐกิจ พบว่า ส่งผลกระทบทางตรงในการสร้างรายได้ของคนในชุมชนและกลุ่มองค์กรที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง ในพื้นที่ตำบลนาหมื่นศรี ตำบลปากแจ่ม และสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพบ่อน้ำร้อนกันตัง ผลกระทบทางลบ คือ ไม่สามารถผลิตลูกประคบสมุนไพรของกลุ่มเครือข่ายแพทย์แผนไทยและหมอพื้นบ้าน และกระเป๋าจากใยตาลโตนดเพื่อจำหน่ายของกลุ่มผ้าทอนาหมื่นศรี ด้านสังคมวัฒนธรรม พบว่า ส่งผลกระทบทางตรงในพื้นที่ตำบลนาหมื่นศรีและตำบลปากแจ่ม โดยพบว่าคนในพื้นที่เกิดการรวบรวมมรดกวัฒนธรรม ภูมิปัญญาของชุมชน และการอนุรักษ์ฟื้นฟูภูมิปัญญา เกิดการเผยแพร่วิถีชีวิตวัฒนธรรม และทำให้ชุมชนเป็นที่รู้จักและชื่อเสียงมากขึ้น ทั้งภายในจังหวัดและต่างจังหวัด และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายเกิดการเชื่อมโยง การท่องเที่ยวโดยชุมชนในระดับจังหวัด ด้านสิ่งแวดล้อม พบว่าไม่มีโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนในแผนพัฒนาจังหวัด ที่ส่งผลกระทบทางตรงต่อด้านสิ่งแวดล้อม แต่พบผลกระทบทางอ้อมในระยะต่อมาในพื้นที่ตำบล นาหมื่นศรีเกิดการปรับสภาพแวดล้อมทางกายภาพ การตัดถนน การติดตั้งเสาไฟฟ้าส่องสว่าง เกิดผลกระทบทางลบจากการซื้อขายเปลี่ยนกรรมสิทธิ์ที่ดินจากคนภายนอก ทำให้มีเปลี่ยนแปลงรูปแบบการใช้ประโยชน์ที่ดิน การถมที่ของผู้ประกอบการที่กระทบกับคนทำนาในตำบล ด้านสุขภาพ พบว่า ส่งผลกระทบในด้านการสร้างความสุขของคนในชุมชนในการได้เผยแพร่วิถีชีวิตวัฒนธรรมของชุมชน การมีรายได้ และความสุขของนักท่องเที่ยวที่ได้สัมผัสบรรยากาศย้อนยุค วิถีวัฒนธรรมชุมชน ผลกระทบทางลบเกิดข้อกังวลของแกนนำกิจกรรมการพัฒนาลูกประคบสมุนไพรที่ไม่สามารถผลิตลูกประคบได้ตามแผน ข้อเสนอต่อการพัฒนาโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดตรังที่สำคัญ ได้แก่ 1) คณะทำงานจัดทำแผนพัฒนาจังหวัดในยุทธศาสตร์ด้านการท่องเที่ยวควรพัฒนาโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนในลักษณะชุดโครงการแยกจากการท่องเที่ยวกระแสหลัก ที่ครอบคลุมกระบวนการพัฒนาศักยภาพคน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การตลาดและประชาสัมพันธ์ 2) สำนักงานท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดตรัง ควรส่งเสริมยกระดับงานเทศกาลลูกลมนาหมื่นศรี และเทศกาลศิลปะวัฒนธรรมเป็นงานนานาชาติ และมีข้อเสนอต่อคณะทำงานพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากและประชารัฐจังหวัดตรังในการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนากลไกคณะทำงานให้เข้มแข็ง ด้านการพัฒนาศักยภาพบุคลากรการท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาคุณภาพแหล่งท่องเที่ยว ด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์สินค้า และด้านการตลาดและประชาสัมพันธ์ รวมจำนวน 15 ข้อ การประเมินครั้งนี้ทำให้ผู้เข้าร่วม ตัวแทนหน่วยงานผู้รับผิดชอบโครงการ กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องกับโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัด ได้เรียนรู้สถานการณ์การท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง ผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบจากโครงการที่ผ่านมาร่วมกัน และเกิดข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการปรับปรุงโครงการท่องเที่ยวโดยชุมชนของแผนพัฒนาจังหวัดและข้อเสนอการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดตรัง เพื่อลดผลกระทบทางลบสร้างผลกระทบทางบวกและมุ่งเน้นการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนต่อไป 2023-12-20T08:45:41Z 2023-12-20T08:45:41Z 2023 Thesis http://kb.psu.ac.th/psukb/handle/2016/19254 th Attribution-NonCommercial-NoDerivs 3.0 Thailand http://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/3.0/th/ application/pdf มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ |