ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์จากสารฟอกสีฟันสามารถซึมผ่านเนื้อฟันเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในได้อย่างง่ายดายรวมทั้งยังก่อให้เกิดอันตรายต่อโพรงเนื้อเยื่อในได้ งานวิจัยนี้จัดทำขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาปริมาณไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่ซึมผ่านแผ่นฟันวัวเข้าสู่โพรงเนื้อเยื่อในจำลอง ภายหลังจากการฟอกสีฟันที่ระยะเวลา 1ชั่วโมง ด้วยสารฟอกสี 3 ชนิด ขั้นตอนการวิจัยจะใช้ฟันวัวที่เตรียมไว้หนา 3.2 มม. ประกอบเข้ากับอุปกรณ์โพรงเนื้อเยื่อในจำลองภายในบรรจุสารละลายแอซีเทตบัฟเฟอร์ไว้เต็มชิ้นงานจะถูกแบ่งออกเป็น 3 กลุ่มตามชนิดของสารฟอกสีฟันที่ใช้ คือ กลุ่มที่ 1 ฟอกสีฟันด้วย Opalescence™ Boost ความเข้มข้นร้อยละ 40 (ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์) กลุ่มที่ 2 ฟอกสีฟันด้วย Opalescence™ PF ความเข้ม ข้นร้อยละ 20 (คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์) และกลุ่มที่ 3 ฟอกสีฟันด้วย Opalescence™ PF ความเข้มข้นร้อยละ 10 (คาร์บาไมด์เพอร์ออกไซด์) ภายหลังจากการฟอกสีฟัน เป็นระยะเวลา 1 ชั่วโมง จึงนำสารละลายในโพรงเนื้อเยื่อในจำลองมาตรวจวัดหาปริมาณไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ผ่านกระบวนการวิเคราะห์การดูดกลืนแสง โดยใช้เครื่องวิเคราะห์การดูดกลืนแสง 2 ชนิด คือ เครื่องวิเคราะห์การดูดกลืนแสงชนิดที่ใช้คิวเวตต์เป็นภาชนะใส่สารตรวจวัด และ เครื่องวิเคราะห์การดูดกลืนแสงชนิดไมโครเพลต ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มที่ใช้สารฟอกสีฟันที่ระดับความเข้มข้นที่สูงกว่า จะสามารถตรวจพบปริมาณไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ที่มากกว่า โดยปริมาณไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ที่มีค่าสูงสุดพบในกลุ่มที่ 1 ไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์ ความเข้มข้นร้อยละ 40 พบปริมาณ 0.0185 ไมโครกรัม/มล. เมื่อใช้เครื่องวิเคราะห์การดูดกลืนแสงชนิดที่ใช้คิวเวตต์เป็นภาชนะ และพบปริมาณ 0.1080 ไมโครกรัม/มล. เมื่อใช้เครื่องวิเคราะห์การดูดกลืนแสงชนิดไมโครเพลต จากผลที่ได้จึงสามารถสรุปได้ว่า เครื่องวิเคราะห์การดูดกลืนแสงชนิดไมโครเพลตมีประสิทธิภาพในการตรวจวัดปริมาณไฮโดรเจนเพอร์ออกไซด์สูงกว่าชนิดที่ใช้คิวเวตต์เป็นภาชนะ Hydrogen peroxide from bleaching agents can easily penetrate through the tooth structure into the pulpal cavity and may cause damage to pulpal cells. The objective of this study was to evaluate the amount of hydrogen peroxide penetration through the bovine tooth disc into the artificial pulp chamber after bleaching with three different bleaching agents for 1 hour. Bovine tooth discs with a thickness of 3.2 mm were prepared and placed into a modified artificial pulp chamber filled with acetate buffer solution. The specimens were divided into 3 groups and bleached with one of following bleaching agents: group-1, 40% Opalescence™ Boost (hydrogen peroxide); group-2, 20% Opalescence™ PF (carbamide peroxide); and group-3, 10% Opalescence™ PF (carbamide peroxide). The amount of peroxide that penetrated into the artificial pulp chamber was evaluated using either a standard spectrophotometer with cuvette reader or microplate spectrophotometer after 1 hour of bleaching. An increase in the amount of hydrogen peroxide penetration corresponded to an increase in the concentration of bleaching products. The highest amount of hydrogen peroxide penetration was found in the group bleached with 40% hydrogen peroxide (0.0185 µg/ml for standard spectrophotometer, 0.1080 µg/ml for microplate spectrophotometer). The microplate spectrophotometer exhibited greater efficacy for detecting the amount of hydrogen peroxide compared with the standard spectrophotometer.
เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Language: | Tha |
Published: |
คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
2020
|
Subjects: | |
Online Access: | http://web1.dent.cmu.ac.th/cmdj/fulltext/fulltext_2563_41_1_540.pdf http://cmuir.cmu.ac.th/jspui/handle/6653943832/68618 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chiang Mai University |
Language: | Tha |
Summary: | เชียงใหม่ทันตแพทยสาร เป็นวารสารวิชาการทางทันตกรรมจัดทำขึ้นโดย คณะทันตแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่มีขอบข่ายและวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมบทวิทยาการที่เป็นงานวิจัยพื้นฐาน งานวิจัยประยุกต์ บทความปริทัศน์ รายงานผู้ป่วย และบทความอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับงานทันตกรรมทุกสาขา ที่ผ่านการพิจารณากลั่นกรองมาแล้วจากผู้ทรงคุณวุฒิ ทั้งนี้เนื้อหาของบทความสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งการปฏิบัติงานในคลินิกและชุมชน รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการทำงานวิจัยเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ทางทันตกรรมต่อไป โดยมีกำหนดการตีพิมพ์วารสาร ปีละ 3 ครั้ง คือ ประจำเดือนมกราคม – เมษายน, พฤษภาคม – สิงหาคม และ กันยายน – ธันวาคม |
---|