เซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อน : รายงานวิจัย
เนื่องจากการใช้เซลล์พี่เลี้ยงที่แยกได้จากตัวอ่อนของหนู เพื่อเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่มาจากหนู ดังนั้น การศึกษาวิจัยจึงมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์โดยใช้เซลล์พี่เลี้ยงที่แยกได้จากคน เซลล์พี่เลี้ยงชนิดไฟโบรบลาสแยกได้จากผิวหนังบริเวณ...
Saved in:
Main Authors: | , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2009
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11911 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | เนื่องจากการใช้เซลล์พี่เลี้ยงที่แยกได้จากตัวอ่อนของหนู เพื่อเลี้ยงเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ มีความเสี่ยงต่อการปนเปื้อนของเชื้อโรคที่มาจากหนู ดังนั้น การศึกษาวิจัยจึงมีจุดประสงค์เพื่อสร้างเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์โดยใช้เซลล์พี่เลี้ยงที่แยกได้จากคน เซลล์พี่เลี้ยงชนิดไฟโบรบลาสแยกได้จากผิวหนังบริเวณหน้าท้องของผู้หญิงที่เข้ารับการผ่าตัดทำคลอด ใช้ตัวอ่อนที่เกิดการปฎิสนธิภายนอกร่างกาย และผ่านการแช่แข็งจำนวนสิบตัวอ่อน เพื่อสร้างเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์กลุ่ม อินเนอร์เซลล์แมส (inner cell mass: ICM) ของตัวอ่อน 8 ตัวอ่อนถูกแยกออกจากเซลล์โทรเฟคโตเดิร์ม (trophectoderm: TE) โดยการใช้แท่งแก้วไปเปตขนาดเล็ก พบว่ามี หนึ่ง ICM outgrowth เจริญขึ้นมา และสองตัวอ่อนถูกเลี้ยงรวมกับเซลล์พี่เลี้ยงหลังจากที่ย่อยเอาเปลือกหุ้มตัวอ่อนออก พบว่ามี หนึ่ง ICM outgrowth เจริญขึ้นมา ผลการศึกษาสามารถสร้างเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ (human embryonic stem-like cells: hES-like cells) ได้หนึ่งสายพันธุ์ เซลล์ที่มีลักษณะคล้ายเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ที่สร้างได้นี้ มีลักษณะทางกายภาพที่เหมือนเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ ให้ผลบวกต่อการทดสอบการย้อมสีทางอิมมูโนวิทยาต่อ Oct-4 และalkaline phospatase (AP) นอกจากนั้นยังสามารถถูกเหนี่ยวนำให้เปลี่ยนแปลงไปเป็น embryoid body (EB) และเซลล์ประสาท อย่างไรก็ตาม จะได้ทดสอบคุณลักษณะอื่นๆ และ การเหนี่ยวนำให้เซลล์ที่ทำหน้าที่จำเพาะของเซลล์ที่มีลักษณะคล้ายต้นกำเนิดตัวอ่อนที่สร้างได้นี้ในขั้นตอนต่อไป จากการศึกษานี้ทำให้ทราบว่าเซลล์ไฟโบรบลาสที่แยกได้จากผิวหนังของคน สามารถนำมาใช้เป็นเซลล์พี่เลี้ยงในการสร้างเซลล์ต้นกำเนิดตัวอ่อนมนุษย์ทดแทนเซลล์ที่แยกได้จากตัวอ่อนของหนู |
---|