การเฝ้าระวังการดื้อต่อยาฆ่าเชื้อและยาปฏิชีวนะของ Salmonella spp. และ Escherichia coli ในสายพันธุ์ที่แยกได้ในประเทศไทย : รายงานการวิจัย
แยก Salmonella enterica จำนวน 257 isolates และ Escherichia coli จำนวน 60 isolates จากตัวอย่างที่ได้จาก ไก่ สุกรและสิ่งแวดล้อมในฟาร์ม ทำการหาค่า minimal inhibitory concentration (MIC) ต่อยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ ampicillin (AMP) chloramphenicol (CHP) ciprofloxacin (CIP) erythromycin (ERY) genta...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2010
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/11992 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | แยก Salmonella enterica จำนวน 257 isolates และ Escherichia coli จำนวน 60 isolates จากตัวอย่างที่ได้จาก ไก่ สุกรและสิ่งแวดล้อมในฟาร์ม ทำการหาค่า minimal inhibitory concentration (MIC) ต่อยาปฏิชีวนะและยาฆ่าเชื้อ ได้แก่ ampicillin (AMP) chloramphenicol (CHP) ciprofloxacin (CIP) erythromycin (ERY) gentamycin (GEN) tetracycline (TET) trmethoprim (TRI) benzalkonium chloride (BKC) chlorhexidine (CHX), copper sulfate (CuSO4) และ zinc chloride (ZnCl2) พบว่า salmonella 162 isolates (63.04%) และ E. coli 50 isolates (83.33%) ดื้อต่อยาปฏิชีวนะอย่างน้อยหนึ่งชนิด ค่า MIC ต่อ BKC, CHX, CUSO4 และ ZnCl2 เกาะกันเป็นกลุ่มใหญ่ โดยเชื้อทั้งหมดนี้ไวต่อ cyclohexane และการเติม CCCP ไม่ทำให้ค่า MIC ต่อ BKC และ CHX เปลี่ยนแปลง เมื่อตรวจหาการปรากฏของ ยีน qacE และ qacE[triangle]1 ใน Salmonella ที่มีค่า MIC ต่อ BKC สูงสุดและต่ำสุดจำนวน 127 isolates ไม่พบว่ามีการปรากฏของยีน qacE และพบยีน qacE[triangle]1 ใน 38 isolates (29.92%) ที่อาจอยู่และไม่อยู่บน class I integron เชื้อที่มียีน qacE[triangle]1 ไม่มีค่า MIC ต่อ BKC และยาปฏิชีวนะสูงกว่าเชื้อที่ไม่มียีน qacE[triangle]1นอกจากนี้ Salmonella สามารถถ่ายทอดยีนดื้อยาปฏิชีวนะไปยังแบคทีเรียชนิดอื่นได้ แต่ไม่พบการถ่ายทอดยีนที่ควบคุมการลดความไวต่อ BKC และ CHX การสัมผัส BKC ในระดับต่ำให้ mutant ที่มีค่า MIC ต่อยาฆ่าเชื้อชนิดนี้สูงขึ้นและความไวต่อ CHP และ ERY ลดลง โดยที่ CCCP ทำให้ค่า MIC เปลี่ยนแปลง ผลการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า Salmonella และ E. coli ยังไม่พัฒนาการดื้อต่อยาฆ่าเชื้อและโลหะหนักที่ทดสอบ หรือมีการพัฒนาในระดับที่ยังไม่สูงนัก ระบบ AcrAB และระบบ efflux systems อื่นๆ ที่ใช้พลังงานจาก Proton Motif Force (PMF) ไม่มีบทบาทสำคัญต่อการลดความไวต่อ BKC และ CHX การใช้ BKC ในระดับต่ำทำให้เชื้อพัฒนาการดื้อยาข้ามต่อยาปฏิชีวนะได้ ซึ่งสนับสนุนว่าควรมีการวางมาตรการควบคุมการใช้ยาฆ่าเชื้ออย่างสุขุมรอบคอบเช่นกัน |
---|