ผลลัพธ์ของการคลอดเองโดยธรรมชาติกับการเร่งคลอด : รายงานผลการวิจัย

การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการคลอดที่เกิดกับผู้คลอดและทารกแรกเกิดและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการคลอดระหว่างผู้ที่คลอดเองโดยธรรมชาติและผู้ที่คลอดแบบเร่งคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดที่รับไว้ในห้องคลอดโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ คัดเล...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: สุชาดา รัชชุกูล
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12354
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยเชิงพรรณนา (Descriptive Research) ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลลัพธ์ของการคลอดที่เกิดกับผู้คลอดและทารกแรกเกิดและเปรียบเทียบความพึงพอใจในการคลอดระหว่างผู้ที่คลอดเองโดยธรรมชาติและผู้ที่คลอดแบบเร่งคลอด กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้คลอดที่รับไว้ในห้องคลอดโรงพยาบาลเจริญกรุงประชารักษ์ คัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจงได้จำนวน 727 คน แบ่งเป็นผู้คลอดเองโดยธรรมชาติ 136 คนและผู้คลอดแบบเร่งคลอด 136 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบประเมินผลลัพธ์การคลอดของผู้คลอดและทารกแรกเกิด และแบบสอบถามความถึงพอใจในการคลอด ตรวจสอบค่าความเที่ยงของเครื่องมือได้ 0.92 วิเคราะห์ของข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าไคสแควร์ (Chi square) และค่าที่ (Independent t-test) ผลการศึกษาสรุปได้ดังนี้ 1. ผลลัพธ์ของการคลอดในผู้คลอดระหว่างผู้คลอดเองโดยธรรมชาติกับผู้คลอดแบบเร่งคลอดพบว่า มีความแตกต่างกันใน 6 ตัวชี้วัด คือ วิธีการคลอด การได้รับสารน้ำเข้าเส้นเลือด การได้รับยาระงับปวดด การเกิดภาวะแทรกซ้อนในการคลอด ค่าใช้จ่ายในการรักษาและระยะเวลาที่สามของการคลอดอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนอี 2 ตัวชี้วัด คือ จำนวนการสูญเสียโลหิตในการคลอดและระยะเวลาที่อยู่ในโรงพยาบาลพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลลัพธ์ของการคลอดในทารกแรกเกิดระหว่างการคลอดเองโดยธรรมชาติและการคลอดแบบเร่งคลอดพบว่า ไม่มีความแตกต่างกันทั้ง 8 ตัวชี้วัด คือ ค่า blood gas ค่า apgar score ที่ 1 และ 5 นาที อัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนจากการคลอด การบาดเจ็บจากการคลอด ภาวะตัวเหลืองแรกเกิด ระยะเวลาที่อยู่โรงพยาบาล และค่าใช้จ่ายในการรักษา 3. ความพึงพอใจในการคลอดทั้งของผู้คลอดเองโดยธรรมชาติและผู้คลอดแบบเร่งคลอดพบว่า อยู่ในระดับมาก (x [bar]= 3.74, S.D. = .57 และ x [bar] = 3.82, S.D. = .52 ตามลำดับ) และผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจทั้งโดยรวมและรายด้านพบว่า ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05