การพัฒนาหุ้นเต้านมจำลองเพื่อใช้ในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง (ระยะที่ 2 และ 3) : รายงานผลการวิจัย

การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาหุ่นเต้านมจำลองเพื่อใช้ในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีรูปแบบการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับหุ่นเต้านมจำลองเพื่อใช้ประกอบการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองของพยาบาลวิชาชีพที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ใช้การวิจัยแบบก่อนทดลอง (Pr...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ชมพูนุช โสภาจารีย์, สุชาดา รัชชุกูล, ศราวุธ ริมดุสิต
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2010
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/12560
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาหุ่นเต้านมจำลองเพื่อใช้ในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง มีรูปแบบการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับหุ่นเต้านมจำลองเพื่อใช้ประกอบการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองของพยาบาลวิชาชีพที่เป็นกลุ่มตัวอย่างจำนวน 30 คน ใช้การวิจัยแบบก่อนทดลอง (Pre-experimental design) ภายหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการใช้สื่อหุ่นเต้านมจำลองในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองทำการประเมินการยอมรับหุ่นเต้านมจำลองในกลุ่มทดลอง โดยใช้แบบประเมินการยอมรับหุ่นเต้านมจำลองที่มีค่าความเที่ยงครอนบาคเท่ากับ 0.86 ผลการศึกษาในระยะที่ 2 พบว่าพยาบาลวิชาชีพมีการยอมรับหุ่นเต้านมจำลองในระดับดี (M 35.7 SD 2.98) โดยมีการยอมรับมากที่สุดในด้านความสะดวกและประโยชน์ของการใช้หุ่นเต้านมจำลองในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง ระยะที่ 2 มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการสอนโดยใช้หุ่นเต้านมจำลองต่อความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทัศนคติต่อมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และความสามารถของสตรีในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลอง (Quasi experimental design) โดยพยาบาลวิชาชีพหลังจากผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการ ดำเนินการสอนสตรีตรวจเต้านมด้วยตนเอง แบ่งเป็นกลุ่มทดลองจำนวน 300 คน สอนโดยใช้สื่อหุ่นเต้านมจำลอง และกลุ่มควบคุมจำนวน 300 คนสอนโดยใช้สื่อภาพพลิก รวมกลุ่มตัวอย่างจำนวน 600 คน ซึ่งมีอายุเฉลี่ย 41.9 ปี (SD 11.25) ส่วนใหญ่สำเร็จการศึกษาในระดับต่ำกว่ามัธยมศึกษาตอนปลายและเกือบครึ่งหนึ่งไม่เคยมีประสบการณ์ตรวจเต้านมด้วยตนเอง พยาบาลวิชาชีพทำการประเมินความรู้เกี่ยวกับการตรวจเต้านมด้วยตนเอง ทัศนคติต่อมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเอง และความสามารถของสตรีในการตรวจเต้านมด้วยตนเอง โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเที่ยง 0.60-0.89 ติดตามประเมินผลในเดือนที่หนึ่ง สาม และหก หลังการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเอง ผลการศึกษาในระยะที่ 3 พบว่าสตรีกลุ่มทดลองมีความรู้เพิ่มขึ้นมากกว่าสตรีกลุ่มทดลอง นอกจากนี้สตรีกลุ่มทดลองยังมีทัศนคติเกี่ยวกับมะเร็งเต้านมและการตรวจเต้านมด้วยตนเองสูงขึ้นในเดือนที่หนึ่งและหก ในขณะที่กลุ่มควบคุมมีคะแนนทัศนคติสูงขึ้นในเดือนที่หนึ่ง สามและลดลงใกล้เคียงกับก่อนได้รับการสอนในเดือนที่หก ส่วนการปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองพบว่า กลุ่มทดลองปฏิบัติการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มขึ้นและมีคะแนนความสามารถในการตรวจเต้านมด้วยตนเองเพิ่มสูงกว่ากลุ่มทดลอง ผลการศึกษาแสดงให้เห็นประโยชน์ของการใช้หุ่นเต้านมจำลองที่มีความเสมือนจริงในการสอนตรวจเต้านมด้วยตนเองในสตรี และชี้ให้เห็นถึงแนวทางในการนำไปใช้ในทางปฏิบัติการด้านสุขภาพ การวิจัยและในเชิงนโยบายเพื่อส่งเสริมสุขภาพสตรี