การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถมที่มีภูมิหลัง และการสนับสนุนทางด้านการเรียนของผู้ปกครองแตกต่างกัน
การวิจัยระยะยาวครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวม 3 รุ่น ที่มี ภูมิหลัง และการสนับสนุนของผู้ปกครองทางการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่ เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึ...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2011
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/15492 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยระยะยาวครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
ของนักเรียนที่เข้าเรียนในโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม รวม 3 รุ่น ที่มี ภูมิหลัง
และการสนับสนุนของผู้ปกครองทางการเรียนแตกต่างกัน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนที่
เข้าศึกษาระดับชั้นประถมศึกษา ปีที่ 1 รุ่นปีการศึกษา 2545, 2546 และ 2547 รวม 3 รุ่น จำนวนรวม
644 คน และผู้ปกครองของนักเรียนที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูล และ
แบบสอบถาม ใช้แบบบันทึกรวบรวมข้อมูลด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนทั้ง 3 รุ่น รวม 6 ครั้ง
ใช้แบบสอบถามรวบรวมข้อมูลด้านการสนับสนุนของผู้ปกครองทางการเรียนปีเว้นปีรวม 3 ครั้ง
การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติบรรยาย การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำ และการวิเคราะห์ถดถอย
พหุคูณ
ผลการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ว่า 1) ในภาพรวมทั้ง 3 รุ่นเมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน พบความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทาง
สถิติ 2 ด้าน คือ ด้านประเภทของนักเรียน ค่าเฉลี่ยของนักเรียนประเภทบุคคลภายนอกสูงกว่าประเภท
สวัสดิการการศึกษาสงเคราะห์ และบุตรบุคลากร และด้านความพร้อมและความรู้พื้นฐาน ค่าเฉลี่ยของ
นักเรียนกลุ่มที่มีความพร้อมและความรู้พื้นฐานสูงมีค่าสูงกว่ากลุ่มที่มีความพร้อมและความรู้พื้นฐาน
ปานกลางและต่ำ เมื่อควบคุมอิทธิพลของตัวแปรสถานภาพทางเศรษฐกิจ และการสนับสนุนทาง
การเรียนของผู้ปกครอง 2) เมื่อเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละรุ่นจากการวัดซ้ำ
6 ครั้ง พบว่าค่าเฉลี่ยจากการวัดแต่ละครั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยมีแนวโน้มการ
เปลี่ยนแปลงของคะแนนเฉลี่ยลดลงเป็นแบบเส้นตรง มีค่าเฉลี่ยในการวัดครั้งที่ 2 หรือ 3 สูงสุด และ
ในการวัดครั้งที่ 5 ต่ำสุด 3) เมื่อเปรียบเทียบแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทาง
การเรียน ระหว่างกลุ่มนักเรียนที่มีความแตกต่างกันด้านความพร้อมและความรู้พื้นฐานต่างกัน
ด้านสถานภาพทางเศรษฐกิจ และด้านการสนับสนุนทางการเรียนของผู้ปกครอง พบว่า ไม่มีความ
แตกต่างของแนวโน้ม แต่พบว่าค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการวัดแต่ละครั้งแตกต่างกัน และ
4) ตัวแปรความพร้อมและความรู้พื้นฐาน สถานภาพทางเศรษฐกิจ และด้านการสนับสนุนทางการเรียน
ของผู้ปกครอง อธิบายผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้ร้อยละ 25.2 18.8 และ 23.1 ตามลำดับ |
---|