สื่อมวลชนเพื่อการพัฒนาในเขตเมืองปนชนบท : ศึกษาเฉพาะอำเภอคลองหลวง และอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี

การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับต่อสื่อมวลชนของประชาชนในเขตเมืองปนชนบท และศึกษาถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มีต่อการพัฒนาประเทศ พร้อมกันนี้ต้องการที่จะทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมสมัยใหม่ การเปิดรับสื่อมวลชน การศึกษา การมีส่วนร่วมทางการเมือง และสถานภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งตัวอย่างในการ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ศิริชัย ศิริกายะ
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาการสื่อสารมวลชน
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1780
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับต่อสื่อมวลชนของประชาชนในเขตเมืองปนชนบท และศึกษาถึงหน้าที่ของสื่อมวลชนที่มีต่อการพัฒนาประเทศ พร้อมกันนี้ต้องการที่จะทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างค่านิยมสมัยใหม่ การเปิดรับสื่อมวลชน การศึกษา การมีส่วนร่วมทางการเมือง และสถานภาพทางเศรษฐกิจ ซึ่งตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้เลือกมาจากครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในอำเภอคลองหลวงกับอำเภอธัญบุรี จังหวัดปทุมธานี จำนวนรวมทั้งสิ้น 903 ครัวเรือน โดยหัวหน้าครอบครัวหรือภรรยาหัวหน้าครอบครัว หรือผู้แทนของครอบครัวเป็นตัวแทนของครัวเรือนในการสัมภาษณ์ การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้วิธีการสัมภาษณ์รายบุคคล โดยใช้แบบสอบถามซึ่งผู้วิจัยได้จัดทำขึ้น การดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลได้ทำขึ้นในช่วงเดือนมีนาคม ถึงเดือนเมษายน 2523 จากการทดสอบสมมุติฐานของการวิจัยปรากฏผลดังต่อไปนี้ 1. ความมากน้อยของการเปิดรับต่อสื่อมวลชนขึ้นอยู่กับความแตกต่างของค่านิยมสมัยใหม่ ระดับการศึกษา ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และระดับสถานภาพทางเศรษฐกิจ สมมุติฐานข้อนี้ได้รับการยืนยัน 2. สื่อมวลชนแต่ละประเภททำหน้าที่ของตนต่อการพัฒนาประเทศไม่เท่าเทียมกัน สมมุติฐานข้อนี้ได้รับการยืนยัน 3. ในกรณีที่สื่อมวลชนไม่ได้ทำหน้าที่ในการพัฒนาประเทศ การสื่อสารในรูปแบบอื่นจะเข้ามาทำหน้าที่แทนสื่อมวลชน สมมุติฐานข้อนี้ได้รับการยืนยัน 4. ไม่มีความแตกต่างระหว่างการสื่อสารในรูปแบบอื่น กับสื่อมวลชนในการทำหน้าที่พัฒนาประเทศ สมมุติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน 5. ค่านิยมสมัยใหม่ การเปิดรับสื่อมวลชน การศึกษา การมีส่วนร่วมทางการเมือง และสถานภาพทางเศรษฐกิจ มีความสัมพันธ์ ในทิศทางเดียวกันในระดับสูง และตัวแปรดังกล่าวนี้สามารถถูกนำมาร่วมกันอธิบายซึ่งกันและกันได้ในอัตราที่สูงอีกด้วย สมมุติฐานข้อนี้ไม่ได้รับการยืนยัน จากข้อมูลที่ได้รับจากการสำรวจผู้วิจัยได้เสนอรูปจำลองการเปลี่ยนให้เป็นสมัยใหม่ คลองหลวง-ธัญบุรี ซึ่งได้แก่ การศึกษามีความสัมพันธ์กับสถานภาพทางเศรษฐกิจในทิศทางเดียวกันและตัวแปรทั้งสองนี้ต่างก็มีความสัมพันธ์กับการเปิดรับต่อสื่อมวลชนและการเปิดรับสื่อมวลชนมีความสัมพันธ์กับค่านิยมสมัยใหม่ รูปจำลองดังกล่าวนี้ อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาต่อไปในประเทศไทย