การย้ายฝากตัวอ่อนระหว่างกระบือพันธุ์มูร่าห์และกระบือปลัก : รายงานผลการวิจัย

ศึกษาความเป็นไปได้ ในการย้ายฝากตัวอ่อนระหว่างกระบือมูร่าห์และกระบือปลักไทย โดยทำการเก็บตัวอ่อนจากการตกไข่ตามธรรมชาติหรือหลังการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนแพรกแนนแมร์ซีรัม โกนาโดโทรปิน (พี.เอ็ม.เอส.จี) ในขนาด 2400-2800 ไอยู จากกระบือมูร่าห์จำนวน 5 ตัว เก็บตัวอ่อนจากการตกไข่ธรรมชาติได้ตัวอ่อน 85% (4/5) โดยมีตั...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: มงคล เตชะกำพุ, พีระศักดิ์ จันทร์ประทีป, ชัยณรงค์ โลหชิต, โคบายาชิ, กุนจิโร
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชาสูติศาสตร์ เธนุเวชวิทยาและวิทยาการสืบพันธุ์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2622
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:ศึกษาความเป็นไปได้ ในการย้ายฝากตัวอ่อนระหว่างกระบือมูร่าห์และกระบือปลักไทย โดยทำการเก็บตัวอ่อนจากการตกไข่ตามธรรมชาติหรือหลังการกระตุ้นด้วยฮอร์โมนแพรกแนนแมร์ซีรัม โกนาโดโทรปิน (พี.เอ็ม.เอส.จี) ในขนาด 2400-2800 ไอยู จากกระบือมูร่าห์จำนวน 5 ตัว เก็บตัวอ่อนจากการตกไข่ธรรมชาติได้ตัวอ่อน 85% (4/5) โดยมีตัวอ่อนปกติเท่ากับ 75% (3/4) และจากการกระตุ้นการตกไข่เพิ่ม พบว่าการตอบสองเฉลี่ย (ในแง่ของจำนวนคอร์ปัส ลูเทียม และฟอลลิเกิล phi > 5 มม.) เท่ากับ 11.0 +- 3.8 จำนวนตกไขาเฉลี่ย/ตัว เท่ากับ 4.4 +- 4.3 มีอัตราการเก็บตัวอ่อนเท่ากับ 45.5% (10/22) ตัวอ่อนปกติที่ได้ทั้งหมด 8 ตัว นำไปย้ายฝากในกระบือปลักตัวรับที่มีวงจรการเป็นสัดใกล้เครียงหรือแตกต่างกันไม่เกิน 24 ชั่วโมง ผลการตรวจการตั้งท้องที่ประมาณ 2-3 เดือน หลังย้ายฝากไม่พบว่ากระบือปลักตัวรับการมีการตั้งท้อง อย่างไรก็ตามพบว่ากระบือปลักตัวรับ 4 ใน 7 ตัว มีแนวโน้มของการพัฒนาของตัวอ่อนในระยะแรก แต่ไม่สามารถเจริญจนสิ้นสุดการตั้งท้องได้ เนื่องจากการตรวจวัดระดับโปรเจาเตอโรนได้ในระดับสูงที่ 21 วัน ของรอบการเป็นสัด