การศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมระดับประถมศึกษาด้วยความร่วมมือแบบพหุภาคี : การศึกษารายกรณีนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม : รายงานการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมระดับประถมศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมระดับประถมศึกษาด้วยความร่วมมือแบบพหุภาคี กรณีศึกษาของการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงปีที่ 6 ปีการ...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/5881 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์กรณีศึกษาเกี่ยวกับลักษณะของเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมระดับประถมศึกษา และ 2) ศึกษาแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมระดับประถมศึกษาด้วยความร่วมมือแบบพหุภาคี กรณีศึกษาของการวิจัย คือ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึงปีที่ 6 ปีการศึกษา 2548 - 2549 โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม อายุ 10-11 ปี ณ ช่วงเวลาที่ทำการวิจัย ที่มีลักษณะที่บ่งบอกว่าเป็นเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม จำนวน 1 คน การเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ 1) การสังเกต 2) การสัมภาษณ์ และ 3) การเขียนอัตชีวประวัติ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการวิเคราะห์กรณีศึกษาในเรื่องลักษณะของเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมระดับประถมศึกษา 1.1) ข้อมูลส่วนตัวของกรณีศึกษา นักเรียนดำรงชีวิตอยู่ในครอบครัวที่อบอุ่น มีสุขภาพแข็งแรงตามวัย แต่มีปัญหาทางด้านสังคมในการปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม มีปัญหาเรื่องการพูด และการใช้ภาษาสื่อสาร และมีปัญหาทางพฤติกรรม นักเรียนมีสติปัญญาดี และเรียนได้ดีในหลายวิชา รวมถึงนักเรียนมีนิสัยรักการอ่าน 1.2) ลักษณะของเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมระดับประถมศึกษา 1.2.1) ลักษณะของทักษะด้านสังคม นักเรียนมีความบกพร่องในการปฏิสัมพันธ์ทางสังคม ไม่สามารถพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมชั้นเรียนให้เหมาะสมกับวัย ไม่สามารถแบ่งปันความสนุก และความสนใจร่วมกับผู้อื่น 1.2.2) ลักษณะของทักษะด้านภาษา นักเรียนมีปัญหาในการใช้ภาษาเพื่อการถ่ายทอดความคิด และความรู้สึก มีความสับสนในการตีความหมายทางภาษา มีการพูดไม่สรุปความ และใช้ภาษาที่เป็นทางการในการสื่อสารกับผู้อื่น 1.2.3) ลักษณะของทักษะด้านสติปัญญา นักเรียนมีสติปัญญาในระดับดี รวมถึงมีความสามารถทางภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ และดนตรีในระดับที่ดีมาก และมีความจำแม่นยำดี 1.2.4) ลักษณะของพฤติกรรมต่างๆ นักเรียนมีปัญหาเกี่ยวกับพัฒนาการด้านการควบคุมกล้ามเนื้อมีปัญหาด้านประสาทสัมผัส นักเรียนชอบทำสิ่งต่างๆ ซ้ำๆ มีความคิดที่เปลี่ยนแปลงยาก และมีอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงง่าย 2) แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมระดับประถมศึกษาด้วยความร่วมมือแบบพหุภาคี 2.1) กระบวนการของผู้ปกครองในการดูแลเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม คือ (1) บทบาทในการอบรมเลี้ยงดู บิดา มารดาเรียนรู้ และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคแอสเพอร์เกอร์ซินโดรมเพื่อที่จะสอน และแนะนำได้อย่างถูกต้อง
(2) บทบาทในการพัฒนาพฤติกรรม ผู้ปกครองรับทราบปัญหาที่เกิดขึ้น หาทางช่วยเหลืออย่างเหมาะสม และให้กำลังใจนักเรียน (3) บทบาทในการเพิ่มความรู้และประสบการณ์ ผู้ปกครองให้ข้อมูลที่มีสาระและเป็นประโยชน์กับนักเรียน และสนันสนุนให้นักเรียนเรียนกีฬาหรือดนตรีในช่วงวันหยุด (4) บทบาทในการดูแลการบ้าน และรายงาน ผู้ปกครองดูแลการทำการบ้าน ทบทวนบทเรียน ช่วยค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อทำรายงาน และสอนให้เห็นความสำคัญของความรับผิดชอบ (5) บทบาทในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยการจัดหาวัสดุอุปกรณ์ ผู้ปกครองช่วยซื้อ และเตรียมอุปกรณ์ให้นักเรียนทำรายงาน (6) บทบาทในการพัฒนาการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม ผู้ปกครองควรสนับสนุนให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมของทางโรงเรียน (7) ผู้ปกครองมีบทบาทในการแนะนำแนวทาง การแก้ไขปัญหา และการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ และชี้แนะให้นักเรียนเข้าใจถึงกฎที่ควรปฏิบัติ 2.2) กระบวนการของครู – อาจารย์ที่เป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม คือ (1) ลักษณะของครูผู้สอนเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม ได้แก่ มีความเข้าใจ มีความอดทนสูง มีความเสียสละ มีความเมตตา และมีความ ใจเย็น (2) บทบาทในการศึกษาลักษณะของเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม (3) บทบาทในการสนับสนุนให้นักเรียนเรียนร่วมกับเพื่อน ครูควรเตือนเมื่อนักเรียนแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม ส่งเสริมให้ร่วมกิจกรรมกลุ่มกับเพื่อน และประสานความเข้าใจระหว่างนักเรียนกับเพื่อนร่วมชั้นเรียน (4) บทบาทในการเสนอแนวทางการปรับพฤติกรรม ครูแนะนำให้นักเรียนเลิกแสดงพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม สอนให้รู้จักเหตุผล รู้จักควบคุมอารมณ์ ลดภาวะการอยู่กับตนเอง ลดภาวะการเห็นตนเองเป็นสำคัญ โดยให้คำนึงถึงความรู้สึกของผู้อื่น และสอนให้ปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ทางสังคม (5) บทบาทในการประสานงานกับผู้ปกครอง ครูแจ้งผู้ปกครองเพื่อทราบถึงปัญหาพฤติกรรม และปัญหาเรื่องการเรียน และพูดคุยหาแนวทางการปรับพฤติกรรม และการส่งเสริมการเรียนรู้ร่วมกัน 2.3) กระบวนการของเพื่อนร่วมชั้นเรียนกับนักเรียนที่เป็นเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม คือ (1) บทบาทในการช่วยปรับพฤติกรรมหรือลดพฤติกรรม เพื่อนร่วมชั้นเรียนมีส่วนสำคัญในการช่วยพูดเตือนสติ พูดให้กำลังใจ เสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหา ขอความช่วยเหลือจากครูในการแก้ไขปัญหา ชักชวนให้นักเรียนทำกิจกรรมและสนทนาร่วมกับผู้อื่น และเตือนสติให้นักเรียนหาเพื่อนคุยบ้าง (2) บทบาทในการสนับสนุน และส่งเสริมให้นักเรียนสามารถเรียน และทำงานร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน ข้อดีของนักเรียนที่เพื่อนนึกถึง คือ นักเรียนเป็นคนอารมณ์ดี มีน้ำใจ มีมนุษยสัมพันธ์ดี มีความรับผิดชอบ เป็นเด็กที่เรียนเก่ง มีสติปัญญาดี มีความจำที่แม่นยำ และสามารถเสนอความคิดเห็นที่ดี มีความคิดสร้างสรรค์ดี พูดจาสุภาพ และมีความซื่อสัตย์ 2.4) กระบวนการของนักเรียนที่เป็นเด็กแอสเพอร์เกอร์ซินโดรม คือ (1) บทบาทในการกระตุ้นให้ตนเองสามารถเรียนร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน ในระยะแรกนักเรียนมักโกรธจนควบคุมสติได้ไม่ดีนัก แต่ในระยะหลังสามารถควบคุมสติตนเองได้ดีขึ้น (2) บทบาทในการมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียน นักเรียนเรียนรู้ที่จะปรับตัว และมีความสุขในการเรียนและทำงานร่วมกับเพื่อนในชั้นเรียนมากขึ้น ส่วนความสัมพันธ์ของนักเรียนกับเพื่อนในช่วงพักจาก การเรียน นักเรียนอ่านหนังสือกับเพื่อนบ้าง หรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์ (3) บทบาทในการปรับปรุงข้อบกพร่องทางการใช้ภาษา นักเรียนแก้ไขภาษาในการพูดสื่อความกับผู้อื่นได้ดีขึ้น สามารถสื่อสารได้เหมาะสมมากขึ้น (4) บทบาทในการควบคุมพฤติกรรมการแสดงออก นักเรียนควบคุมอารมณ์ตนเองได้ดีมากขึ้น มีสติ และสามารถฝึกนั่งสมาธิได้ดี (5) บทบาทในการนำประสบการณ์ที่ผ่านมาเพื่อปรับพฤติกรรม และเพื่อพัฒนาตนเองให้อยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข นักเรียนสามารถปรับพฤติกรรมต่างๆ ได้ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง |
---|