การสกัดไอออนของโลหะที่เป็นพิษด้วยคีเลติงเรซินที่มีเบนโซไทเอโซล : รายงานผลการวิจัย
ทำการดัดแปรพื้นผิวพอลิสไตรีนไดไวนิลเบนซีน (PS-DVB) ให้มีหมู่เบนโซไทเอโซล โดยเริ่มจากการดัดแปรพื้นผิวพอลิสไตรีนไดไวนิลเบนซีนให้มีหมู่อะมิโน (amino-PS-DVB)จากนั้นนำมาทำปฏิกิริยากับสารประกอบเอธิล 2-เบนไซไทเอโซลิลอะซิเตด (BA) ได้เรซินที่มีการเชื่อมต่อด้วยพันธะเอไมด์ จากนั้นตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่เตรียมได้ด้...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/6105 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | ทำการดัดแปรพื้นผิวพอลิสไตรีนไดไวนิลเบนซีน (PS-DVB) ให้มีหมู่เบนโซไทเอโซล โดยเริ่มจากการดัดแปรพื้นผิวพอลิสไตรีนไดไวนิลเบนซีนให้มีหมู่อะมิโน (amino-PS-DVB)จากนั้นนำมาทำปฏิกิริยากับสารประกอบเอธิล 2-เบนไซไทเอโซลิลอะซิเตด (BA) ได้เรซินที่มีการเชื่อมต่อด้วยพันธะเอไมด์ จากนั้นตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่เตรียมได้ด้วยเทคนิคการวิเคราะห์ปริมาณของธาตุที่เป็นองค์ประกอบ (EA) และเทคนิคอินฟราเรดสเปกโทรสโคปี (IR) นำเรซินที่เตรียมได้มาใช้สกัดไอออนแคดเมียม ทองแดง และตะกั่วในน้ำ ทำการวิเคราะห์ปริมาณโลหะต่างๆด้วยเทคนิคเฟลมอะตอมมิกแอบซอร์พชันสเปกโทรเมตรี (FAAS) โดยทำการศึกษาถึงสภาวะที่เหมาะสมสำหรับการสกัดแบบแบทช์ ได้แก่ ค่า pH ของสารละลาย ระยะเวลาที่ใช้ในการการสกัด ความจุการดูดซับ และผลของไอออนอื่นๆ พบว่า pH ที่เหมาะสมสำหรับการสกัดแคดเมียม ทองแดง และตะกั่ว เท่ากับ 7.0 8.0 และ 6.0 ตามลำดับเวลาที่ทำให้สารสกัดเข้าสู่สมดุลเท่ากับ 20 นาทีสำหรับแคดเมียมและทองแดง และ 40 นาทีสำหรับตะกั่ว พฤติกรรมการดูดซับเป็นแบบแลงเมียร์ ไอออนโลหะสามารถชะออกจากเรซินได้ด้วยสารละลายกรดไนทริกเข้มข้น 1.0 M โดยมีเปอร์เซ็นต์การชะเท่ากับ 74.95 และ82% สำหรับแคดเมียม ทองแดง และตะกั่ว ตามลำดับ ไอออนอื่นในสารละลายส่งผลต่อประสิทธิภาพการสกัด สามารถนำเรซินไปใช้สกัดโลหะในน้ำเสียจริงได้ |
---|