ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
ในอดีตที่ผ่านมา การแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย ทั้งฉบับ พ.ศ. 2474 และฉบับ พ.ศ. 2521 หรือแม้แต่การดำเนินการยกร่างฉบับ พ.ศ. 2536 ล้วนเป็นการดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องจากต่างประเทศหรือเพื่ออนุวัติการให้ไทยสมัครเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศเป็นสำคัญ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื...
Saved in:
Main Author: | |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2006
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/644 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | ในอดีตที่ผ่านมา การแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย ทั้งฉบับ พ.ศ. 2474 และฉบับ พ.ศ. 2521 หรือแม้แต่การดำเนินการยกร่างฉบับ พ.ศ. 2536 ล้วนเป็นการดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องจากต่างประเทศหรือเพื่ออนุวัติการให้ไทยสมัครเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศเป็นสำคัญ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์คนไทยเลย ด้วยเหตุดังกล่าว กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยที่ผ่านมา จึงมิได้คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์คนไทยอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนั้นข้อบทกฎหมายที่เป็นอุปสรรคหรือไม่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้คนไทยสร้างสรรค์งานวรรณกรรมและศิลปกรรมเพิ่มมากขึ้น จึงมิได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง งานวิจัยฉบับนี้ ได้ใช้กรณีการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์เป็นกรณีศึกษา โดยแบ่งหัวข้อศึกษาวิจัยออกเป็นสามด้านคือ การคุ้มครองสิทธิในทางเศรษฐกิจ และการคุ้มครองธรรมสิทธิของผู้สร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ในส่วนที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ท่ารำ และการคุ้มครองสิทธิของผู้แสดงที่ได้นำงานนาฏศิลป์มาแสดงสู่สายตาประชาชน ในการดำเนินการศึกษาวิจัยการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้าน คณะผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองขั้นตอน คือ การศึกษาวิจัยเอกสาร และการวิจัยสนาม ในขั้นตอนแรก คณะผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบและแนวทางการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้านจากประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยได้ทำการวิจัยทั้งข้อกฎหมายลิขสิทธิ์ ธรรมสิทธิ และสิทธิข้างเคียง และศึกษาแนวทางการนำข้อกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในกรณีที่มีการพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้สร้างสรรค์ และผู้แสดง นอกจากนั้นยังได้ศึกษาวิเคราะห์วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้าน จากอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม อนุสัญญากรุงโรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิข้างเคียง ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้แสดง และร่างข้อตกลงของการเจรจาแกตต์รอบอุรุกวัย ในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อพิจารณารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมประกอบการพิจารณาแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาวิจัยในขั้นที่สอง เป็นการนำข้อมูล และผลการศึกษาวิจัยเอกสารในขั้นตอนแรกมาใช้เป็นแนวทางสอบถามและสัมภาษณ์ กลุ่มประชาการเป้าหมาย 4 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เรียน กลุ่มผู้สอน กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และทางอ้อมกับการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ และสิทธิข้างเคียง พ.ศ. 2536 การศึกษาวิจัยในขั้นตอนที่สองนี้สามารถสรุปได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับนาฏยศิลปินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ธรรมสิทธิ และสิทธิของผู้แสดงเป็นผลมาจากข้อจำกัดทางด้านวัฒนธรรมและความเชื่อของกลุ่มนาฏยศิลปินไทยที่มองภาพการสร้างสรรค์งานของตนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูมากกว่าการค้า ทำให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร คณะผู้วิจัยได้สรุปปัญหาของการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้านของนาฏยศิลปินไทย ว่าประกอบด้วยปัญหาหลักสองประการ คือ ปัญหาจากตัวบทของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 เองที่คุ้มครองงานสร้างสรรค์ด้านนาฏกรรมไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีข้อบทว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้แสดง ซึ่งการแก้ไขปัญหาส่วนนี้สามารถทำได้โดยการนำผลการวิจัยทางด้านเอกสาร และรูปแบบแนวทางของประเทศต่าง ๆ มาประกอบการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับปัญหาหลักในส่วนที่สอง ซึ่งสะท้อนจากผลการวิจัยภาคสนามในนามการสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่มประชากรตัวอย่างนั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลุ่มบัคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์และการใช้งานนาฏศิลป์นั้นมีความเข้าใจหลักของกฏหมายลิขสิทธิ์ค่อนข้างจำกัด ประกอบด้วยทัศนคติของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่เอื่ออำนวยต่อการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด เพราะมองว่างานสร้างสรรค์ด้านนาฏกรรมเป็นการให้ต่อสังคมในฐานะครูมากกว่าการทำธุรกิจการค้า ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ จำต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้และการศึกษาด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ประกอบไปด้วยจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด |
---|