ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย

ในอดีตที่ผ่านมา การแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย ทั้งฉบับ พ.ศ. 2474 และฉบับ พ.ศ. 2521 หรือแม้แต่การดำเนินการยกร่างฉบับ พ.ศ. 2536 ล้วนเป็นการดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องจากต่างประเทศหรือเพื่ออนุวัติการให้ไทยสมัครเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศเป็นสำคัญ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ผุสดี หลิมสกุล
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชานาฏยศิลป์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/644
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
id th-cuir.644
record_format dspace
institution Chulalongkorn University
building Chulalongkorn University Library
country Thailand
collection Chulalongkorn University Intellectual Repository
language Thai
topic การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
นาฏศิลป์
spellingShingle การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา
นาฏศิลป์
ผุสดี หลิมสกุล
ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
description ในอดีตที่ผ่านมา การแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย ทั้งฉบับ พ.ศ. 2474 และฉบับ พ.ศ. 2521 หรือแม้แต่การดำเนินการยกร่างฉบับ พ.ศ. 2536 ล้วนเป็นการดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องจากต่างประเทศหรือเพื่ออนุวัติการให้ไทยสมัครเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศเป็นสำคัญ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์คนไทยเลย ด้วยเหตุดังกล่าว กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยที่ผ่านมา จึงมิได้คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์คนไทยอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนั้นข้อบทกฎหมายที่เป็นอุปสรรคหรือไม่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้คนไทยสร้างสรรค์งานวรรณกรรมและศิลปกรรมเพิ่มมากขึ้น จึงมิได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง งานวิจัยฉบับนี้ ได้ใช้กรณีการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์เป็นกรณีศึกษา โดยแบ่งหัวข้อศึกษาวิจัยออกเป็นสามด้านคือ การคุ้มครองสิทธิในทางเศรษฐกิจ และการคุ้มครองธรรมสิทธิของผู้สร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ในส่วนที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ท่ารำ และการคุ้มครองสิทธิของผู้แสดงที่ได้นำงานนาฏศิลป์มาแสดงสู่สายตาประชาชน ในการดำเนินการศึกษาวิจัยการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้าน คณะผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองขั้นตอน คือ การศึกษาวิจัยเอกสาร และการวิจัยสนาม ในขั้นตอนแรก คณะผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบและแนวทางการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้านจากประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยได้ทำการวิจัยทั้งข้อกฎหมายลิขสิทธิ์ ธรรมสิทธิ และสิทธิข้างเคียง และศึกษาแนวทางการนำข้อกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในกรณีที่มีการพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้สร้างสรรค์ และผู้แสดง นอกจากนั้นยังได้ศึกษาวิเคราะห์วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้าน จากอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม อนุสัญญากรุงโรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิข้างเคียง ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้แสดง และร่างข้อตกลงของการเจรจาแกตต์รอบอุรุกวัย ในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อพิจารณารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมประกอบการพิจารณาแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาวิจัยในขั้นที่สอง เป็นการนำข้อมูล และผลการศึกษาวิจัยเอกสารในขั้นตอนแรกมาใช้เป็นแนวทางสอบถามและสัมภาษณ์ กลุ่มประชาการเป้าหมาย 4 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เรียน กลุ่มผู้สอน กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และทางอ้อมกับการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ และสิทธิข้างเคียง พ.ศ. 2536 การศึกษาวิจัยในขั้นตอนที่สองนี้สามารถสรุปได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับนาฏยศิลปินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ธรรมสิทธิ และสิทธิของผู้แสดงเป็นผลมาจากข้อจำกัดทางด้านวัฒนธรรมและความเชื่อของกลุ่มนาฏยศิลปินไทยที่มองภาพการสร้างสรรค์งานของตนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูมากกว่าการค้า ทำให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร คณะผู้วิจัยได้สรุปปัญหาของการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้านของนาฏยศิลปินไทย ว่าประกอบด้วยปัญหาหลักสองประการ คือ ปัญหาจากตัวบทของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 เองที่คุ้มครองงานสร้างสรรค์ด้านนาฏกรรมไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีข้อบทว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้แสดง ซึ่งการแก้ไขปัญหาส่วนนี้สามารถทำได้โดยการนำผลการวิจัยทางด้านเอกสาร และรูปแบบแนวทางของประเทศต่าง ๆ มาประกอบการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับปัญหาหลักในส่วนที่สอง ซึ่งสะท้อนจากผลการวิจัยภาคสนามในนามการสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่มประชากรตัวอย่างนั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลุ่มบัคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์และการใช้งานนาฏศิลป์นั้นมีความเข้าใจหลักของกฏหมายลิขสิทธิ์ค่อนข้างจำกัด ประกอบด้วยทัศนคติของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่เอื่ออำนวยต่อการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด เพราะมองว่างานสร้างสรรค์ด้านนาฏกรรมเป็นการให้ต่อสังคมในฐานะครูมากกว่าการทำธุรกิจการค้า ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ จำต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้และการศึกษาด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ประกอบไปด้วยจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด
author2 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชานาฏยศิลป์
author_facet จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชานาฏยศิลป์
ผุสดี หลิมสกุล
format Technical Report
author ผุสดี หลิมสกุล
author_sort ผุสดี หลิมสกุล
title ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
title_short ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
title_full ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
title_fullStr ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
title_full_unstemmed ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
title_sort ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย
publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
publishDate 2006
url http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/644
_version_ 1681412687152545792
spelling th-cuir.6442008-01-03T07:28:21Z ลิขสิทธิ์ สิทธิของผู้แสดง และธรรมสิทธิของนาฏยศิลปินไทยภายใต้พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 : ข้อเสนอแนะในการแก้ไขปรับปรุงกฎหมาย Copyright, performers' right and moral right of Thai classical artists and dancers under the Thai Copyright Act of B.E.2521 : The proposed amendent ผุสดี หลิมสกุล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. ภาควิชานาฏยศิลป์ การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา นาฏศิลป์ ในอดีตที่ผ่านมา การแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทย ทั้งฉบับ พ.ศ. 2474 และฉบับ พ.ศ. 2521 หรือแม้แต่การดำเนินการยกร่างฉบับ พ.ศ. 2536 ล้วนเป็นการดำเนินการแก้ไขกฎหมายเพื่อตอบสนองข้อเรียกร้องจากต่างประเทศหรือเพื่ออนุวัติการให้ไทยสมัครเป็นภาคีสนธิสัญญาระหว่างประเทศเป็นสำคัญ โดยมิได้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อตอบสนองผลประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์คนไทยเลย ด้วยเหตุดังกล่าว กฎหมายลิขสิทธิ์ของไทยที่ผ่านมา จึงมิได้คุ้มครองผลประโยชน์ของผู้สร้างสรรค์คนไทยอย่างที่ควรจะเป็น นอกจากนั้นข้อบทกฎหมายที่เป็นอุปสรรคหรือไม่เอื้อประโยชน์ต่อการส่งเสริมให้คนไทยสร้างสรรค์งานวรรณกรรมและศิลปกรรมเพิ่มมากขึ้น จึงมิได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง งานวิจัยฉบับนี้ ได้ใช้กรณีการสร้างสรรค์งานนาฏศิลป์เป็นกรณีศึกษา โดยแบ่งหัวข้อศึกษาวิจัยออกเป็นสามด้านคือ การคุ้มครองสิทธิในทางเศรษฐกิจ และการคุ้มครองธรรมสิทธิของผู้สร้างสรรค์งานนาฏศิลป์ในส่วนที่เกี่ยวกับการประดิษฐ์ท่ารำ และการคุ้มครองสิทธิของผู้แสดงที่ได้นำงานนาฏศิลป์มาแสดงสู่สายตาประชาชน ในการดำเนินการศึกษาวิจัยการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้าน คณะผู้วิจัยได้แบ่งการศึกษาออกเป็นสองขั้นตอน คือ การศึกษาวิจัยเอกสาร และการวิจัยสนาม ในขั้นตอนแรก คณะผู้วิจัยได้ศึกษาวิเคราะห์รูปแบบและแนวทางการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้านจากประเทศอุตสาหกรรม ซึ่งประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ฝรั่งเศส และเยอรมนี โดยได้ทำการวิจัยทั้งข้อกฎหมายลิขสิทธิ์ ธรรมสิทธิ และสิทธิข้างเคียง และศึกษาแนวทางการนำข้อกฎหมายดังกล่าวมาใช้บังคับในกรณีที่มีการพิพาทเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิของผู้สร้างสรรค์ และผู้แสดง นอกจากนั้นยังได้ศึกษาวิเคราะห์วิวัฒนาการของกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้าน จากอนุสัญญากรุงเบอร์นว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรม อนุสัญญากรุงโรมว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิข้างเคียง ในส่วนที่เกี่ยวกับสิทธิของผู้แสดง และร่างข้อตกลงของการเจรจาแกตต์รอบอุรุกวัย ในส่วนที่เกี่ยวกับการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา เพื่อพิจารณารูปแบบและแนวทางที่เหมาะสมประกอบการพิจารณาแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์ของไทย ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น การศึกษาวิจัยในขั้นที่สอง เป็นการนำข้อมูล และผลการศึกษาวิจัยเอกสารในขั้นตอนแรกมาใช้เป็นแนวทางสอบถามและสัมภาษณ์ กลุ่มประชาการเป้าหมาย 4 กลุ่ม ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มผู้เรียน กลุ่มผู้สอน กลุ่มผู้ปฏิบัติ และกลุ่มบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องโดยตรง และทางอ้อมกับการพิจารณาแก้ไขปรับปรุงกฎหมายลิขสิทธิ์ และสิทธิข้างเคียง พ.ศ. 2536 การศึกษาวิจัยในขั้นตอนที่สองนี้สามารถสรุปได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับนาฏยศิลปินที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ ธรรมสิทธิ และสิทธิของผู้แสดงเป็นผลมาจากข้อจำกัดทางด้านวัฒนธรรมและความเชื่อของกลุ่มนาฏยศิลปินไทยที่มองภาพการสร้างสรรค์งานของตนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างสรรค์วัฒนธรรม ซึ่งเป็นหน้าที่ของครูมากกว่าการค้า ทำให้การคุ้มครองลิขสิทธิ์ในประเทศไทยไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร คณะผู้วิจัยได้สรุปปัญหาของการคุ้มครองสิทธิทั้งสามด้านของนาฏยศิลปินไทย ว่าประกอบด้วยปัญหาหลักสองประการ คือ ปัญหาจากตัวบทของพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 เองที่คุ้มครองงานสร้างสรรค์ด้านนาฏกรรมไม่ครบถ้วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งไม่มีข้อบทว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิของผู้แสดง ซึ่งการแก้ไขปัญหาส่วนนี้สามารถทำได้โดยการนำผลการวิจัยทางด้านเอกสาร และรูปแบบแนวทางของประเทศต่าง ๆ มาประกอบการแก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของไทยให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น สำหรับปัญหาหลักในส่วนที่สอง ซึ่งสะท้อนจากผลการวิจัยภาคสนามในนามการสอบถาม และสัมภาษณ์กลุ่มประชากรตัวอย่างนั้น แสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลุ่มบัคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างสรรค์และการใช้งานนาฏศิลป์นั้นมีความเข้าใจหลักของกฏหมายลิขสิทธิ์ค่อนข้างจำกัด ประกอบด้วยทัศนคติของกลุ่มบุคคลเหล่านี้ไม่เอื่ออำนวยต่อการบังคับใช้กฎหมายลิขสิทธิ์อย่างเคร่งครัด เพราะมองว่างานสร้างสรรค์ด้านนาฏกรรมเป็นการให้ต่อสังคมในฐานะครูมากกว่าการทำธุรกิจการค้า ดังนั้นการแก้ปัญหาโดยการแก้ไขกฎหมายลิขสิทธิ์เพียงอย่างเดียวจึงไม่เพียงพอ จำต้องดำเนินการประชาสัมพันธ์เพื่อให้ความรู้และการศึกษาด้านกฎหมายลิขสิทธิ์ประกอบไปด้วยจึงจะได้ประสิทธิภาพสูงสุด In retrospect to the historical development of the That copyright law, the main reason for various amendments of the Copyright Acts in the past, such as B.E. 2474 Act, B.E. 2521 Act or even the draft of B.E. 2536 Act, was the government responsibility for the foreign's request to enact copyright laws in compliance with international treaty. Accordingly, copyright law of Thailand have never reflected the real interest of Thai creators as such, and nothing was taken into considerations seriously in promoting the creation of Thai producers. For studying this problem, this project uses the Thai classical artists and dancers as a case study. For the purpose of this research, rights of classical artists are classified into three aspects : the protection of economic right in related to the creation of choreographic work, protection of moral right and protection of performers' right. This project is divided into two phases, namely documentary research and field research. The objective of the first phase is to study and analyse the above mentioned right through laws, regulations and court's decisions of developed countries such as the United States, the United Kingdom, France and Germany. Furthermore, it also surveys the development of international norms and standards in the field of international copyright protection of the Berne Convention for the Protection of Literary and Artistic Works, the Rome Convention for the Protection of Performance, Producers of Phonograms and Broadcasting Organizations, and the Draft Agreement on Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights of Uruguay Round of GATT Negotiations. The objective of this phase is to explore the possibility to amend the Thai copyright and neighboring right in compliance with existing international norms and standards. The second phase of this project, the field research, involves the survey of a present situation of copyright protection and enforcement in the field of Thai classical artists and dancers by simple random sampling 4 groups, namely students, teachers, performers and group of people directly or indriectly involving in the Sub-committee of Copyright and Neighboring Right Amendment. It can be summarized from the interviews that ineffective copyright enforcement in areas of Thai classical dances was inherited from a cultural constrain and the pedagogical perspective of Thai artists and performers who create work not for busines purposes. Our study concludes that there are two main problems of the ineffectiv protection for THai classical artists and dancers. Firstly, it is the inadequate protection under the copyright Act of B.E. 2521, especially it does not provide any protection for performers. Accordingly, our study recommend to amend the copyright law based on international norms and standard. The second problem, which is vividly reflected in the field research, is the unawareness of the people in the area of copyright protetion. Moreover, any applicability of copyright protection in this area is constrained by the pedagogicak attitude which always deny any lucrative idea creating their works. Therefore, in addition to amending the copyright law, the government should support the educational program in the area accordingly. กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช 2006-07-07T08:42:59Z 2006-07-07T08:42:59Z 2536 Technical Report http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/644 th จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 26336745 bytes application/pdf application/pdf จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย