การติดตามการเจริญและการผลิตสารลดแรงตึงผิวชีวภาพที่ผลิตโดย Pseudomonas sp. สายพันธุ์ A41 ในอาหารที่มีน้ำมันและกรดไขมันเป็นแหล่งคาร์บอน : รายงานผลการวิจัย
เมื่อทำการเพาะเลี้ยงเชื้อ Pseudomonas sp. สายพันธุ์ A41 ในอาหารเหลวกำหนดสูตรที่มี 2% (v/v) ของไขมันหรือกรดไขมันเป็นแหล่งคาร์บอนที่แตกต่างกัน 9 ชนิด และ NH[subscript 4]NO[subscript 3] 0.4% ที่ 30ํC เขย่าที่ 200 rpm เป็นเวลา 7 วัน พบว่าเชื่อจะผลิตสารลดแรงดึงผิวชีวภาพได้ดีเมื่อเจริญเข้าสู่ระยะพัก (stat...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2008
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/7170 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | เมื่อทำการเพาะเลี้ยงเชื้อ Pseudomonas sp. สายพันธุ์ A41 ในอาหารเหลวกำหนดสูตรที่มี 2% (v/v) ของไขมันหรือกรดไขมันเป็นแหล่งคาร์บอนที่แตกต่างกัน 9 ชนิด และ NH[subscript 4]NO[subscript 3] 0.4% ที่ 30ํC เขย่าที่ 200 rpm เป็นเวลา 7 วัน พบว่าเชื่อจะผลิตสารลดแรงดึงผิวชีวภาพได้ดีเมื่อเจริญเข้าสู่ระยะพัก (stationary phase) สารลดแรงดึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้ สามารถลดค่าแรงดึงผิวของอาหารเลี้ยงเชื้อที่ปราศจากเซลล์จาก 55-63.4 mN/m ลงเป็น 27.8-30 mN/m ในอาหารเลี้ยงเชื้อทุกแหล่งคาร์บอน ปริมาณสารลดแรงดึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้จะขึ้นกับชนิดของแหล่งคาร์บอนจากการทดลองพบว่าอาหารเลี้ยงเชื้อที่มีน้ำมันมะกอก น้ำมันปาล์ม และน้ำมันมะพร้าวเป็นแหล่งคาร์บอน จะทำให้สารลดแรงดึงผิวชีวภาพ 16.9 13.4 และ 6.23 กรัม/ลิตร ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบว่าการกระจายตัวของน้ำมันและปริมาณน้ำตาลแรมโนสจะมีค่าสูงในแหล่งอาหารคาร์บอนที่เป็นกรดไขมัน สายโซ่ที่สั้นกว่า (C [subscript 12] C[subscript 14] C[subscript 16] ) และถ้าเป็นกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว พบว่า C18.2 จะให้ค่าการกระจายน้ำมันและปริมาณน้ำตาลแรมโนสสูงกว่ากรดไขมันC18.1 และกรดไขมันอิ่มตัว C18 ตามลำดับ ส่วนที่เป็นไฮโดรฟิลิกจะถูกนำมาวิเคราะห์หาสารน้ำตาลแรมโนสโดยการใช้ HPLC และ UV-VIS ขณะที่ส่วนที่เป็นไฮโดรโฟบิกถูกนำมาเตรียมเป็นรูปอนุพันธ์ของ Methy ester แล้ววิเคราะห์ด้วย GC-MS ผลการวิเคราะห์ด้วยแสดงการเปลี่ยนแปลงของกรดไขมันไปเป็นผลิตภัณฑ์หลัก ในรูป 3-hydroxyxlecanoic acid (3OH-C10:0) เกือบทั้งหมดเนื่องจากน้ำมันมะกอกเป็นแหล่งคาร์บอนที่มีราคาแพง ผู้วิจัยจึงได้สนใจที่จะผลิตสารลดแรงดึงผิวชีวภาพจากน้ำมันปาล์มแทน โดยได้ทำการผลิตสารลดแรงดึงผิวชีวภาพในอาหารเลี้ยงเชื้อที่ใช้น้ำมันปาล์มเป็นแหล่งคาร์บอน แล้วทำสารลดแรงดึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้ให้บริสุทธิ์บางส่วนโดยวิธีทางเคมี พบว่าสารลดแรงดึงผิวชีวภาพที่ผลิตได้สามารถลดแรงดึงผิวได้ดีมีค่า [gamma]CMC 50 มก.ต่อลิตร เท่ากับ 30 mN/m มีค่าผลผลิต 196 กรัมต่อบาท สารสามารถเกิดอิมัลชั่นกับสารละลายอินทรีย์ต่างๆ 8 ชนิด มากกว่า 60 % และเมื่อทำสารให้บริสุทธิ์ยิ่งขึ้นด้วย HPLC แล้ววิเคราะห์สารด้วย LC-MS พบว่ามีองค์ประกอบหลักที่สำคัญคือสารที่มีมวลโมเลกุล 527 ซึ่งมีค่าเท่ากับมวลของโซเดี่ยมโมโนแรมโนลิปิด |
---|