ข้อตกลงการจำกัดการส่งออกด้วยความสมัครใจ ระหว่างประเทศไทยกับกลุ่มประชาคมยุโรป : ลักษณะ ผลกระทบและผลที่ติดตามมา

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการคือ 1. ศึกษาผลกระทบของข้อตกลงจำกัดการส่งออกด้วยความสมัครใจ ระหว่างไทย กับกลุ่มประชาคมยุโรป ที่มีต่อสภาวะเศรษฐกิจส่วนรวม 2. ศึกษาผลกระทบของข้อตกลงดังกล่าวที่มีต่อการตัดสินใจในระดับฟาร์ม จากการวิเคราะห์โดยทางทฤษฎี ผลกระทบที่จะมีต่อประเทศผู้ส่งออกนั้น จะขึ้นอยู...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: ชัยวุฒิ ชัยพันธุ์
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเศรษฐศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2006
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/728
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ที่สำคัญ 2 ประการคือ 1. ศึกษาผลกระทบของข้อตกลงจำกัดการส่งออกด้วยความสมัครใจ ระหว่างไทย กับกลุ่มประชาคมยุโรป ที่มีต่อสภาวะเศรษฐกิจส่วนรวม 2. ศึกษาผลกระทบของข้อตกลงดังกล่าวที่มีต่อการตัดสินใจในระดับฟาร์ม จากการวิเคราะห์โดยทางทฤษฎี ผลกระทบที่จะมีต่อประเทศผู้ส่งออกนั้น จะขึ้นอยู่กับความยืดหยุ่นราคาของอุปสงค์ ของสินค้าที่มีการจำกัดการส่งออก กล่าวคือถ้าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อยประเทศผู้ส่งออกจะได้รับผลประโยชน์ เนื่องจากเปอร์เซนต์การเพิ่มขึ้นของราคาจะมากกว่าเปอร์เซนต์การลดลงของปริมาณส่งออก ในทางตรงกันข้ามถ้าอุปสงค์มีความยืดหยุ่นมากประเทศผู้นำเข้าจะได้รับประโยชน์ อย่างไรก็ตามผลประโยชน์ที่ได้นั้นจะตกอยู่ในประเทศผู้ส่งออก หรือไม่ขึ้นอยู่กับโครงสร้างตลาดและการบริหารการส่งออกของรัฐบาล ในประเทศผู้ส่งออกเป็นหลัก จากการวิเคราะห์กรณีของประเทศไทย ความยืดหยุ่นราคาของอุปสงค์มีความยืดหยุ่นน้อย ประเทศไทยจึงได้รับผลประโยชน์จากข้อตกลงดังกล่าวนี้อย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามจากโครงสร้างตลาดและการบริหารการส่งออกในปัจจุบัน ผลประโยชน์ดังกล่าวจะตกไปอยู่กับพ่อค้า และผู้แปรรูปเป็นหลัก ส่วนเกษตรกร โดยเฉพาะขนาดเล็กกลับจะต้องได้รับผลร้ายโดยเฉพาะจากความผันผวนของราคาที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก จากการวิเคราะห์ถึงผลกระทบต่อการตัดสินใจในระดับฟาร์มพบว่า เมื่ออุปสงค์ในกลุ่มประชาคมยุโรปปรับตัวอย่างสมบูรณ์ และมีการใช้ผลิตผลอื่นทดแทน จนทำให้ราคาตกต่ำลงมากนั้น เกษตรกรควรจะหันไปปลูกพืชอื่นๆ โดยเฉพาะมะม่วงหิมพานต์ ถ้าต้องการรักษาระดับรายได้ไม่ให้เปลี่ยนแปลง ผลของการศึกษายืนยันว่า การเก็บภาษีส่งออกเป็นสิ่งที่ควรกระทำอย่างยิ่ง นอกจากนั้น รัฐบาลควรบริหารกองทุนเพื่อรักษาเสถียรภาพของราคาให้มีประสิทธิภาพและควรพยายามที่จะเน้นช่วยเหลือเกษตรกรรายเล็ก มากกว่าเกษตรกรรายใหญ่