แนวคิดการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในประเทศไทย : กรณีศึกษาอุตสาหกรรมการเกษตร : รายงานผลการวิจัย
บริษัทส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมการเกษตร (ธุรกิจการเกษตร) ของไทยนั้นไม่ค่อยจะได้คิดหรือวางแผนการในการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้โดยเน้นความสำคัญอย่างพอเพียงต่อหน้าที่ของการประเมินผลข้อมูล ซึ่งก็คือ การสนับสนุนการปฏิบัติงาน การจัดการ และการตัดสินใจของบริษัท มีผู้บริหารน้อยรายในสาขาเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ที่...
Saved in:
Main Authors: | , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Technical Report |
Language: | Thai |
Published: |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2006
|
Subjects: | |
Online Access: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/730 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Chulalongkorn University |
Language: | Thai |
Summary: | บริษัทส่วนใหญ่ในอุตสาหกรรมการเกษตร (ธุรกิจการเกษตร) ของไทยนั้นไม่ค่อยจะได้คิดหรือวางแผนการในการนำคอมพิวเตอร์เข้ามาประยุกต์ใช้โดยเน้นความสำคัญอย่างพอเพียงต่อหน้าที่ของการประเมินผลข้อมูล ซึ่งก็คือ การสนับสนุนการปฏิบัติงาน การจัดการ และการตัดสินใจของบริษัท มีผู้บริหารน้อยรายในสาขาเศรษฐกิจดังกล่าวนี้ที่มีความคิดอย่างชัดเจนถึงแนวทางในการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ที่ก้าวหน้าและทันต่อการพัฒนาของเทคโนโลยี ในการวิจัยนี้ได้แสดงให้เห็นถึงการพัฒนาของระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการในอุตสาหกรรมการเกษตรของไทย โดยเน้นถึงฟังก์ชั่นการประเมินผลข้อมูล ตั้งแต่การประยุกต์ใช้ขั้นง่ายสุดคือการทำบัญชี ไปจนถึงเทคโนโลยีฐานข้อมูลสำหรับการบริหารทั่วไป และระบบสารสนเทศส่วนบุคคลสำหรับผู้บริหารแต่ละคนของบริษัท ข้อมูลที่นำเสนอและข้อสังเกตที่ได้ในการวิจัยนี้ ได้มาจากการสัมภาษณ์เจ้าหน้าที่ระดับสูงรวม 82 บริษัทในอุตสาหกรรมการเกษตร ในเขตกรุงเทพมหานครและสมุทรปราการระหว่างเดือนมีนาคมถึงกันยายน 2533 ในการสัมภาษณ์นั้นผู้วิจัยได้อธิบายโดยละเอียดถึงลักษณะของช่วงชีวิตของฟังก์ชั่นการประเมินผลข้อมูลซึ่งมีการนำมาวิเคราะห์การประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์อย่างแพร่หลาย ตลอดจนมโนทัศน์ของการพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการซึ่งมีความหมายรวมไปถึง การจัดทำโมเดลบริษัท ฐานข้อมูล การศึกษาความเป็นไปได้ และสภาวะแวดล้อมภายนอก หลังจากทำความเข้าใจอย่างถูกต้องแล้ว ผู้วิจัยได้ขอให้เจ้าหน้าที่ของบริษัทตอบคำถามในแบบสอบถาม ผลที่ได้นั้นสรุปได้ดังนี้ จำนวนบริษัทที่นำเอาคอมพิวเตอร์ไปประยุกต์ใช้แบบใหม่ๆ สำหรับการบริหารทั่วไป และระบบสารสนเทศส่วนบุคคลสำหรับผู้บริหารแต่ละคนนั้นมีน้อยกว่าที่คาดไว้มากเมื่อพิจารณาจากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยที่อยู่ในระดับสูง มีเพียงร้อยละ 17 ในการสำรวจนี้เท่านั้นที่อยู่ในขั้นดังกล่าว ได้มีความต้องการใช้บุคลากรระดับกลางเป็นจำนวนมากกล่าวคือ จำนวนเจ้าหน้าที่ควบคุมเครื่อง ผู้เขียนโปรแกรม และนักวิเคราะห์มีถึงร้อยละ 71 ของบริษัทที่ทำการสำรวจความต้องการบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญสูงในด้านเทคโนโลยี ฐานข้อมูล และการสื่อสารนั้นมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่ยังอยู่ในระดับต่ำอยู่มาก จำนวน 2 ใน 3 ของบริษัทที่ทำการสำรวจอยู่ในขั้นแรกเริ่ม ของการประยุกต์ใช้เทคนิคการบริหารคอมพิวเตอร์ กล่าวคือการประเมินผลข้อมูลมักดำเนินการโดย ฝ่ายเล็กๆ ในบริษัท และการควบคุมยังเป็นไปอย่างหละหลวม จำนวนบริษัทที่จัดหาบริการคอมพิวเตอร์แก่ผู้ใช้ โดยไม่มีการเก็บค่าบริการมีถึงร้อยละ 86 ของบริษัทที่ทำการสำรวจ ในการสำรวจนี้แสดงว่า ร้อยละ 17 ของบริษัทที่ทำการศึกษาได้มีการริเริ่มจัดทำโมเดลบริษัทโดยเป็นไปตามความต้องการของผู้บริหารระดับสูง บริษัทดังกล่าวนี้ ได้จัดหาซอฟต์แวร์ สำหรับการจัดโครงสร้างข้อมูล และสามารถตอบสนองความต้องการของฝ่ายบริหารในการทำงานเฉพาะกิจและการจัดทำรายงาน ประมาณร้อยละ 62 ของบริษัทที่ทำการสำรวจระบุว่า วิธีการศึกษาความเป็นไปได้ของระบบคอมพิวเตอร์ที่เสนอเข้ามาให้เลือกนั้นยังไม่เหมาะสมเพราะไม่สามารถประเมินข้อดีเป็นตัวเลขที่แน่นอนได้ และต้นทุนก็ไม่สามารถระบุได้แน่นอนเช่นกัน ในการศึกษานี้พบว่า รัฐบาลมิได้มีบทบาทเป็นผู้นำในการประยุกต์ใช้คอมพิวเตอร์ของบริษัทแต่อย่างใด อย่างไรก็ตามได้มีการใช้อาจารย์มหาวิทยาลัยเป็นที่ปรึกษากันอย่างแพร่หลาย การพัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการนั้นขึ้นอยู่กับกฎเกณฑ์ของรัฐในการนำเข้าเทคโนโลยีสารสนเทศ และรัฐบาลควรจะเร่งให้การฝึกอบรมและการศึกษาอย่างพอเพียง |
---|