การศึกษาระดับจุลกายวิภาคศาสตร์ของแหล่งกักเก็บอสุจิในสุกรภายหลังการผสมเทียมแบบสอดท่อเข้ามดลูกด้วยน้ำเชื้อสด : รายงานวิจัย

วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อตรวจหาจำนวนอสุจิใน crypts ของ uterotubal junction (UTJ) และท่อนำไข่ในแม่สุกร ที่ประมาณ 24 ชั่วโมง หลังทำการผสมเทียมด้วยวิธี intrauterine (IUI) และ deep intrauterine (DIUI) และทำการเปรียบเทียบกับจำนวนตัวอสุจิเมื่อใช้วิธีการผสมเทียมแบบปกติ การทดลองใช้แม่สุกรพันธุ์ผส...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: เผด็จ ธรรมรักษ์, ไพศาล เทียนไทย
Other Authors: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสัตวแพทยศาสตร์
Format: Technical Report
Language:Thai
Published: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 2009
Subjects:
Online Access:http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8942
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Chulalongkorn University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์ของการศึกษานี้ คือ เพื่อตรวจหาจำนวนอสุจิใน crypts ของ uterotubal junction (UTJ) และท่อนำไข่ในแม่สุกร ที่ประมาณ 24 ชั่วโมง หลังทำการผสมเทียมด้วยวิธี intrauterine (IUI) และ deep intrauterine (DIUI) และทำการเปรียบเทียบกับจำนวนตัวอสุจิเมื่อใช้วิธีการผสมเทียมแบบปกติ การทดลองใช้แม่สุกรพันธุ์ผสม Landrace x Yorkshire (LY) จำนวน 15 ตัว หาเวลาที่เกิดการตกไข่ที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการเป็นสัดโดยทำการอัลตราซาวนด์ผ่านทางทวารหนักทุก 4 ชั่วโมง ผสมเทียมแม่สุกรด้วยน้ำเชื้อสดเจือจางเพียงครั้งเดียวที่เวลาประมาณ 6-8 ชั่วโมงก่อนเวลาที่คาดว่าจะมีการตกไข่ด้วยวิธี AI (n=5) IUI (n=5) และ DIUI (n=5) โดยทำการผสมเมื่อสุกรเป็นสัดครั้งที่สองหลังจากหย่านม วิธี AI ใช้อสุจิ 3,000 ล้านตัวในปริมาตร 100 มิลลิลิตร วิธีIUI ใช้อสุจิ 1,000 ล้านตัวในปริมาตร 50 มิลลิลิตร และวิธี DIUI ใช้อสุจิ 150 ล้านตัวในปริมาตร 5 มิลลิลิตร หลังจากผสมเทียมประมาณ 24 ชั่วโมง ทำการวางยาแม่สุกรเพื่อตัดรังไข่และมดลูกออก เก็บท่อนำไข่และปีกมดลูกส่วนต้น (1 เซนติเมตร) ทั้งสองข้าง แบ่งเป็น 4 ส่วน ได้แก่ UTJ ส่วนท้ายของ isthmus ส่วนต้นของisthmus และ ampulla ชะล้างตัวอสุจิที่อยู่ในท่อของแต่ละส่วนด้วยสารละลาย phosphate buffer หลายๆ ครั้งหลังจากทำการชะล้างแล้ว นำส่วน UTJ และท่อนำไข่ทุกส่วนไปแช่ในสารละลาย 10% neutral buffered formalin จากนั้นนำ UTJ และส่วนต่างๆ ของท่อนำไข่ไปตัดแบ่งเป็น 4 ส่วนเท่า ๆ กันและนำไปใส่ใน paraffin block ทำการตัดขวางเนื้อเยื่อที่ความหนา 5 ไมครอน ชิ้นเนื้อเยื่อที่ตัดได้ทุกๆ 5 ชิ้นจะนำไปย้อมสีด้วยสีย้อม haematoxylin และ eosin นับจำนวนตัวอสุจิทั้งหมดจาก 32 ชิ้นในแต่ละส่วนของเนื้อเยื่อ (16 ชิ้นจากด้านซ้ายและอีก 16 ชิ้นจากด้านขวา) ด้วยกล้องจุลทรรศน์ ผลการศึกษาพบว่าตัวอสุจิส่วนใหญ่จะอยู่กันเป็นกลุ่มบริเวณepithelial crypt ค่าเฉลี่ยของจำนวนตัวอสุจิทั้งหมดในแหล่งกักเก็บตัวอสุจิ (UTJ และส่วนท้ายของ isthmus) เป็น2296 729 และ 22 ตัวในกลุ่มที่ผสมเทียมด้วยวิธี AI IUI และ DIUI ตามลำดับ (P<0.01) แม่สุกรทุกตัวในกลุ่มที่ผสมเทียมด้วยวิธี AI และ IUI จะพบตัวอสุจิในแหล่งกักเก็บตัวอสุจิได้ทั้งสองข้าง แต่แม่สุกรในกลุ่มที่ผสมเทียมด้วยวิธี DIUI จำนวน 3 ตัวจาก 5 ตัวไม่พบตัวอสุจิในแหล่งกักเก็บตัวอสุจิทั้งสองข้าง แม่สุกร 1 ตัวพบตัวอสุจิในแหล่งกักเก็บตัวอสุจิเพียงข้างเดียว และแม่สุกรอีก 1 ตัวพบตัวอสุจิได้ทั้งสองข้าง ไม่พบตัวอสุจิในส่วนต้นของisthmus ขณะที่พบตัวอสุจิเพียง 1 ตัวในส่วน ampulla ในแม่สุกร 1 ตัวจากกลุ่มที่ผสมเทียมด้วยวิธี IUI โดยสรุปการผสมเทียมด้วยวิธี DIUI จะพบจำนวนตัวอสุจิในแหล่งกักเก็บตัวอสุจิที่ 24 ชั่วโมงหลังทำการผสมเทียมน้อยกว่าเมื่อเทียบกับวิธี AI และ IUI อย่างมีนัยสำคัญ ตัวอสุจิสามารถไปอยู่ในแหล่งกักเก็บตัวอสุจิได้ทั้งสองข้างหลังทำการผสมเทียมด้วยวิธี AI และ IUI แต่ในแม่สุกรกลุ่มที่ทำการผสมเทียมด้วยวิธี DIUI พบได้เพียง 1 ตัวจาก 5 ตัว