ภาวะความบกพร่องทางกายของผู้สูงอายุไทยในชุมชนภาคกลาง
การสำรวจภาวะความบกพร่องทางกายของผู้สูงอายุไทยในชุมชน แต่ยังไม่พบข้อมูลเฉพาะเจาะจงทางกายที่สามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาความบกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุไทยในชุมชนได้ทั้งนี้ เพื่อทราบข้อมูลความชุกความบกพร่องทางกาย และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการพึ่งพาตนเองในชุมชนเขตเมืองและชนบท โดยทำการสุ่มเลือกพ...
Saved in:
Main Authors: | , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Original Article |
Language: | Thai |
Published: |
2013
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/10367 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การสำรวจภาวะความบกพร่องทางกายของผู้สูงอายุไทยในชุมชน แต่ยังไม่พบข้อมูลเฉพาะเจาะจงทางกายที่สามารถนำมาวิเคราะห์ปัญหาความบกพร่องในการทำกิจวัตรประจำวันผู้สูงอายุไทยในชุมชนได้ทั้งนี้
เพื่อทราบข้อมูลความชุกความบกพร่องทางกาย และปัจจัยแวดล้อมที่มีผลต่อการพึ่งพาตนเองในชุมชนเขตเมืองและชนบท โดยทำการสุ่มเลือกพื้นที่ใช้วิธีcluster sampling ในผู้สูงอายุที่อาศัยในชุมชนเมืองและชนบทเฉพาะในเขตภาคกลาง โดยแบบสำรวจประกอบด้วย 4 ส่วน คือ 1) ข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบสอบถามความพิการและการประกอบกิจกรรม 3) การตรวจร่างกายของข้อต่อ4) การล้มและอื่นๆ ตามลำดับ พบว่าผู้เข้าร่วมเป็นผู้สูงอายุไทย อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองจำนวน 1,315 คน และชุมชนชนบทจำนวน 649 คนรวมจำนวน 1,964คนเป็นชาย646คน หญิง1,318คนมีปัญหาโรคเบาหวานมากถึง26% ทั้งนี้ยังมีผู้สูงอายุที่ไม่ทราบว่าตนเองเป็นโรคเบาหวานหรือไม่อยู่ 32 % มีความบกพร่องทางกายอันดับ 1 คือ ที่กระดูกสันหลังระดับเอวคิดเป็นประมาณ 27.4% อันดับ 2 ที่ข้อเข่า คิดเป็นประมาณ 17.6% อันดับ 3 ที่เท้าและนิ้วเท้า คิดเป็นประมาณ 11.5 % ความบกพร่องเหล่านี้เกี่ยวข้องกับภาวะเสี่ยงต่อการล้ม กิจกรรมการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นการเดิน การขึ้น-ลงบันได การจับจ่ายซื้อของ การเอื้อมหยิบของเหนือศีรษะ เป็นต้น โดยข้อมูลพื้นฐานนี้เป็นฐานความรู้สำหรับนักกายภาพบำบัดในการพัฒนาการเรียนการสอน และการบริการสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุในชุมชน โดยการให้ความรู้จัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพจากชุมชนสู่ชุมชน และให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้รับผิดชอบชุมชน ทั้งนี้ผลจากการสำรวจนี้นำไปสู่การออกแบบโปรแกรมการจัดการทางกายภาพบำบัดเพื่อป้องกันและแก้ไขภาวะความบกพร่องทางกายของผู้สูงอายุ ลดความเสี่ยงและสร้างเสริมสุขภาของผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป |
---|