ฤทธิ์การยับยั้งเชื้อราในช่องปากของวานิลลิน
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาฤทธิ์การต้านจุลินทรีย์ของวานิลลิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก ของสารแต่งกลิ่นวานิลลา ต่อเชื้อราในช่องปาก คือ แคนดิดา อัลบิแคนส์, แคนดิดา ครูซิไอ, แคนดิดา พาแรพซิโลซิส, และแคนดิดา กลาบราตา วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: เตรียมสารละลายวานิลลินในเอทิลอัลกอฮอล์ ความ เข้มข้นร้อยละ 99...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2015
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1056 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาฤทธิ์การต้านจุลินทรีย์ของวานิลลิน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหลัก
ของสารแต่งกลิ่นวานิลลา ต่อเชื้อราในช่องปาก คือ แคนดิดา อัลบิแคนส์, แคนดิดา
ครูซิไอ, แคนดิดา พาแรพซิโลซิส, และแคนดิดา กลาบราตา
วัสดุอุปกรณ์และวิธีการศึกษา: เตรียมสารละลายวานิลลินในเอทิลอัลกอฮอล์ ความ
เข้มข้นร้อยละ 99.7-100 ให้มีขนาดความเข้มข้นของวานิลลินตั้งแต่ 500 มิลลิโมลาร์ ไป
จนถึง1.92 มิลลิโมลาร์ ทำการทดสอบคัดกรองฤทธิ์การต้านจุลินทรีย์โดยใช้วิธี เอการ์
ดิสค์ ดิฟฟิวชัน ต่อเชื้อยีสต์ แคนดิดา อัลบิแคนส์ เอทีซีซี 10231 แคนดิดา กลาบราตา
เอทีซีซี 90030 แคนดิดา พาแรพซิโลซิส เอทีซีซี 20019 และแคนดิดา ครูซิไอ เอทีซีซี
6258 ซึ่งได้จากคลังจุลินทรีย์ของภาควิชาจุลชีววิทยาช่องปาก คณะทันตแพทยศาสตร์
มหาวิทยาลัยมหิดล จากนั้นทำการทดสอบหาความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อ
และความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถทำลายเชื้อ โดยวิธี บรอท ไมโครไดลูชัน
ผลการศึกษา: จากวิธีเอการ์ ดิสค์ ดิฟฟิวชัน พบว่า สารละลายวานิลลินที่ความเข้มข้น
ตั้งแต่ 500-62.5 มิลลิโมลาร์ ให้ผลการยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแคนดิดาได้ โดยมี
ขนาดของขอบเขตการยับยั้งเชื้อแตกต่างกัน ตั้งแต่ 8-25 มิลลิเมตร ความเข้มข้นที่น้อย
ที่สุดที่สามารถยับยั้งเชื้อแคนดิดาสปีชีส์ต่างๆ มีค่าตั้งแต่ 3.91-15.63 มิลลิโมลาร์ และ
ความเข้มข้นที่น้อยที่สุดที่สามารถทำลายเชื้อแคนดิดามีค่า 7.81 และ 31.25 มิลลิโมลาร์
วิจารณ์: วานิลลินมีฤทธิ์ในการต้านเชื้อราแคนดิดาสปีชีส์ต่างๆ ทั้ง 4 สปีชีส์ ที่นำมา
ทดสอบ การศึกษานี้แสดงความเป็นไปได้ในการนำวานิลลินมาใช้ในการรักษาการติดเชื้อ
ราในช่องปาก อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องมีการศึกษาต่อไปในอนาคตโดยเฉพาะการศึกษา
ทางคลินิก เพื่อประเมินประสิทธิภาพของวานิลลินก่อนที่จะนำไปใช้ในผู้ป่วย |
---|