ความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและขาแบบไอโซไคเนติคกับน้ำหนักมากที่สุดที่ยอมรับได้ในการยกในชายไทย ประเมินโดยวิธีไซโคฟิสิกค์

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาแบบไอโซไคเนติคต่อน้ำหนักมากที่สุดที่ยอมรับได้ในการยก (MAWOL) และเปรียบเทียบค่า MAWOL ระหว่างกลุ่มคนที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (BSTL) และกลุ่มคนที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากกว่ากล้ามเนื้อหลัง (...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: บุคอรี ปุตสะ, วรรธนะ ชลายนเดชะ, ชนัตถ์ อาคมานนท์
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะกายภาพบำบัด
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/10995
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาแบบไอโซไคเนติคต่อน้ำหนักมากที่สุดที่ยอมรับได้ในการยก (MAWOL) และเปรียบเทียบค่า MAWOL ระหว่างกลุ่มคนที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา (BSTL) และกลุ่มคนที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขามากกว่ากล้ามเนื้อหลัง (LSTB) ในชายไทยสุขภาพดีอายุระหว่าง 18-30 ปี จำนวน 35 คน วิธีการศึกษา วัดค่าความแข็งแรงสูงสุด (peak torque) ของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาแบบไอโซไคเนติคด้วยเครื่อง BIODEX® และประเมินหาน้ำหนักมากที่สุดที่ยอมรับได้ในการยกโดยวิธีไซโคฟิสิกค์ ผลการศึกษา พบความสัมพันธืระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังต่อกล้ามเนื้อขา (r = 0.486. p < 0.05) แต่ไม่พบความสัมพันธืระหว่างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังต่อ MAWOL และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขาต่อ MAWOL (p < 0.05) น้ำหนักมากสุดที่ยอมรับได้ในการยกของกลุ่ม LSTB มีค่ามากกว่ากลุ่ม BSTL โดยทั้งสองกลุ่มมี MAWOL ที่ไม่แตกต่างกัน สรุปผลการศึกษา ผู้ที่มีความแข็งแรงของหลังมาก มีแนวโน้มที่ความแข็งแรงของขามากตามไปด้วย ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังและกล้ามเนื้อขาไม่สัมพันธ์ต่อ MAWOL ผู้ที่มีความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหลังหรือขามาก ไม่จำเป็นต้องยกน้ำหนักได้มากเมื่อประเมินด้วยวิธีไซโคฟิสิกค์