ความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรสในผู้ป่วยนรีเวช

วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรสในผู้ป่วยนรีเวช รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจํานวน 532 คน ถูกคัดเลือกแบบสะดวกจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยนรีเวชโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผู้เข้าร่วมวิจ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นันทนา ธนาโนวรรณ, Nanthana Thananowan
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/11197
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์:เพื่อศึกษาความชุกและปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรสในผู้ป่วยนรีเวช รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงพรรณาแบบภาคตัดขวาง วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างจํานวน 532 คน ถูกคัดเลือกแบบสะดวกจากผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยนรีเวชโรงพยาบาลแห่งหนึ่ง ผู้เข้าร่วมวิจัยตอบชุดแบบสอบถามซึ่งประกอบด้วยข้อมูลทั่วไป ประวัติทางเพศสัมพันธ์ และประวัติการได้รับความรุนแรง ผลการวิจัย: ความชุกของความรุนแรงที่เกิดจากคู่สมรสในผู้ป่วยนรีเวชคิดเป็นร้อยละ 21.1 แบ่งเป็นความรุนแรงทางกาย ทางเพศ และทางจิตใจร้อยละ 17.3, 11.5 และ 13.2 ตามลําดับ เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ป่วยนรีเวชที่ไม่ได้รับความรุนแรง กลุ่มที่ได้รับความรุนแรงมีแนวโน้มมากกว่าอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) ที่แยกกันอยู่กับคู่สมรส (ร้อยละ 38.4) เคยแต่งงานมากกว่าหนึ่งครั้ง (ร้อยละ 52.7) จบการศึกษาต่ํากว่าชั้นประถมศึกษา (ร้อยละ 53.6) มักไม่ได้ทํางานหรือเป็นนักเรียน/นักศึกษา (ร้อยละ 19.6) และรับจ้างทั่วไป (ร้อยละ 67) มีรายได้น้อยกว่า 10,000 บาท/ เดือน (ร้อยละ 63.4) เศรษฐานะไม่พอใช้ (ร้อยละ 33) มีหนี้สิน (ร้อยละ 35.8) และมีความขัดแย้งในชีวิตสมรสเป็นประจํา (ร้อยละ 47.3) ผู้ป่วยนรีเวชกลุ่มนี้ยังดื่มสุรา (ร้อยละ 35.7) สูบบุหรี่ (ร้อยละ 15.2) ใช้สารเสพติด (ร้อยละ 7.1) และเล่นการพนัน (ร้อยละ 14.3) มากกว่าผู้ป่วยนรีเวชที่ไม่ได้รับความรุนแรงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) สําหรับปัจจัยทางเพศสัมพันธ์นั้นพบว่า ผู้ป่วยนรีเวชที่ได้รับความรุนแรงมักจะมีเพศสัมพันธ์ครั้งแรกในขณะที่มีอายุน้อยกว่าหรือเท่ากับ 18 ปี มีคู่นอนหลายคน มีการตั้งครรภ์ การคลอด และการแท้งมากกว่าผู้ป่วยนรีเวชที่ไม่ได้รับความรุนแรงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) และที่สําคัญผู้ป่วยกลุ่มนี้ยังเคยมีการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ (ร้อยละ 58.9) สวนล้างช่องคลอด (ร้อยละ 49.1) ใช้ยาคุมกําเนิดฉุกเฉิน (ร้อยละ 17) และเคยถูกบังคับให้มีเพศสัมพันธ์ทางปาก (ร้อยละ 9.8) ทางทวารหนัก (ร้อยละ 8) หรือในขณะมีประจําเดือน (ร้อยละ 32.1) ในสัดส่วนที่สูงกว่าผู้ป่วยนรีเวชที่ไม่ได้รับความรุนแรงอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (p < .05) สรุปและข้อเสนอแนะ: บุคลากรทางสุขภาพควรคัดกรองความรุนแรงและประเมินปัจจัยที่สัมพันธ์กับความรุนแรงในผู้ป่วยนรีเวช และควรจัดเตรียมแนวทางการปฏิบัติที่มีประสิทธิภาพเพื่อป้องกันความรุนแรงไว้ให้พร้อมในกรณีพบอุบัติการณ์ของความรุนแรงหรือปัจจัยที่เกี่ยวข้องดังกล่าว