วิธีการและวัสดุใช้แยกเหงือก

วัตถุประสงค์: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรม ประเมินวิธีการและวัสดุที่ใช้ในการแยกเหงือก ข้อดีข้อเสียของวิธีการและวัสดุ วิธีการแยกเหงือกมี 4 วิธี วิธีแรกคือ วิธีการเชิงกลซึ่งเกี่ยวข้องกับการดันเนื้อเยื่อเหงือกด้วยแรงกายภาพโดยวัสดุแยกเหงือกที่ใส่ร่องเหงือก วัสดุที่ใช้มีหลายชนิดเช่นแผ่นย...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: อมรรัตน์ วงค์ล่ำซำ, Amornrat Wonglamsam, เสาวลักษณ์ แสงจันทร์, Saowalax Sangchan, ชัชรี สุชาติล้ำพงศ์, Chatcharee Suchatlampong
Format: Article
Language:Thai
Published: 2015
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/1136
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทบทวนวรรณกรรม ประเมินวิธีการและวัสดุที่ใช้ในการแยกเหงือก ข้อดีข้อเสียของวิธีการและวัสดุ วิธีการแยกเหงือกมี 4 วิธี วิธีแรกคือ วิธีการเชิงกลซึ่งเกี่ยวข้องกับการดันเนื้อเยื่อเหงือกด้วยแรงกายภาพโดยวัสดุแยกเหงือกที่ใส่ร่องเหงือก วัสดุที่ใช้มีหลายชนิดเช่นแผ่นยางกันน้ำลาย เส้นเชือก แถบรัด และวัสดุพิมพ์ปากอิลาสโตเมอร์ ข้อเสียของวิธีนี้คืออาจทำให้เหงือกร่น เหงือกเป็นแผล วิธีที่สองคือวธีการเชิงกลร่วมกับสารเคมี เป็นการใช้เชือกแยกเหงือกชุบสารเคมี สารเคมีที่ใช้ได้แก่ อีฟิเนฟริน กลุ่มยาฝาดสมาน กลุ่มเอมีน หรือใช้หลายชนิดปนกัน ข้อดีของวิธีนี้คือ สารเคมีช่วยห้ามเลือดได วิธีที่สามคือการขูดเหงือกโดยการกรอขอบเหงือกอิสระออกบางส่วนเพื่อให้ร่องเหงือกกว้างขึ้น ข้อเสียคือมีเลือดออก วิธีสุดท้ายคือศัลยกรรมไฟฟ้าเหมาะกับกรณีเหงือกอักเสบ สามารถกำจัดเนื้อเยื่ออักเสบและควบคุมการเกิดเลือดออก ข้อเสียคือ เหงือกร่นหรือกระดูกละลายตัว โดยสรุปแล้วการเลือกใช้วิธีการและวัสดุในการแยกเหงือกขึ้นกับหลายปัจจัยเช่น ตำแหน่งขอบฟันหลักที่กรอ จำนวนฟันหลักที่ต้องแยกเหงือก โรคทางระบบของผู้ป่วยและสภาวะของเหงือกโดยรอบ