ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมสถานภาพทางการเงินพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและคุณภาพชีวิตในสตรีมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา

วัตถุประสงค์: ศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม สถานภาพทางการเงิน พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตในสตรีมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา รูปแบบการวิจัย:การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่ได้รับวินิจฉัยเป็น...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: คนึงนิจ พงศ์ถาวรกมล, Kanaungnit Pongthavornkamol, พิจิตรา เล็กดํารงกุล, Pichitra Lekdamrongkul, พรพรรณ วนวโรดม, Pornpun Wanawarodom, วันทกานต์ ราชวงศ์, Wontakarn Ratchawong
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/19952
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: ศึกษาพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคม สถานภาพทางการเงิน พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และคุณภาพชีวิตในสตรีมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา รูปแบบการวิจัย:การศึกษาความสัมพันธ์เชิงพรรณนา วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นสตรีที่ได้รับวินิจฉัยเป็นมะเร็งเต้านมที่มารับการรักษา ณ หน่วยรังสีรักษาของโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในกรุงเทพฯ จํานวน 88 ราย ใช้วิธีเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบสะดวก รวบรวมข้อมูลโดยใช้1) แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล 2) แบบวัดการรับรู้แรงสนับสนุนทางสังคมพหุมิติ 3) แบบวัดพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพและ 4) แบบวัดคุณภาพชีวิตผู้ป่วยมะเร็งเต้านม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และการวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์เพียร์สันและค่าสหสัมพันธ์สเพียร์แมน ผลการวิจัย: คะแนนพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพโดยรวมของกลุ่มตัวอย่างสตรีมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษามีค่าเฉลี่ยค่อนข้างต่ํา (X = 141.77, SD = 21.12) เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มสตรีมะเร็งเต้านมระหว่างการรักษาด้วยเคมีบําบัดในการศึกษาที่ผ่านมา (X = 164.40, SD = 20.9) คุณภาพชีวิตโดยรวมมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ (r = .47, p < .01) การสนับสนุนทางสังคม (r = .46, p < .01) และสถานภาพทางการเงิน (r = .36, p < .01) พฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการสนับสนุนทางสังคม (r = .50, p < .01) แต่ไม่สัมพันธ์กับสถานภาพทางทางการเงิน สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรประเมินพฤติกรรมสร้างเสริมสุขภาพ และแหล่งสนับสนุนทางสังคมของสตรีมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา ในกลุ่มผู้ป่วยสถานภาพทางการเงินไม่ดีควรพิจารณาประเมินคุณภาพชีวิตด้วยเพื่อนําไปสู่การวางแผนการพยาบาลที่ส่งเสริมภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิตที่ดีของสตรีมะเร็งเต้านมระหว่างได้รับรังสีรักษา