การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้าน ในการให้คำแนะนำการดูแล รักษาเบื้องต้นและการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว
การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย ในการให้คำแนะนำการดูแลรักษาเบื้องต้นและการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว ในจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิและแม่ฮ่องสอน ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนั...
Saved in:
Main Authors: | , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2017
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2013 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | การพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย ในการให้คำแนะนำการดูแลรักษาเบื้องต้นและการส่งต่อที่มีประสิทธิภาพแก่ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว ในจังหวัดขอนแก่น ชัยภูมิและแม่ฮ่องสอน ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action Research) ที่มีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้ ผู้ดูแลผู้ติดเชื้อเอชไอวี/ผู้ป่วยเอดส์ให้มีศักยภาพในการดูแลรักษาในเบื้องต้น และการใช้ยาอย่างเหมาะสมแก่ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัว
ผลการสำรวจข้อมูลพื้นฐานจากแบบสอบถาม ได้ทำการสำรวจเจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านจำนวน 281 ราย พบว่าเจ้าหน้าที่มีประสบการณ์ในการเยี่ยมบ้านประมาณ 3 ปี และร้อยละ 53 เคยที่มีประสบการณ์ในการเยี่ยมผู้ป่วยเอดส์ที่บ้านปัญหาและอุปสรรคเยี่ยมบ้านมีสาเหตุหลักๆ 2 ประการคือ ขาดการสนับสนุนจากหน่วยงานและผู้บังคับบัญชา
รวมทั้งตัวผู้ป่วยเอดส์ และครอบครัวที่ไม่ต้องการเปิดเผยตัว และสองคือเจ้าหน้าที่ขาดความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเอดส์ที่ชัดเจน ขาดทักษะในการให้การดูแลและการเข้าถึงชุมชน ซึ่งสอดคล้องกับการประเมินความรู้ ความเข้าใจและทักษะของเจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้าน ที่พบว่าเจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านส่วนใหญ่ยังขาดข้อมูลเกี่ยวกับเอดส์ที่ชัดเจน ถูกต้องและทันสมัย นอกจากนี้ยังพบว่าเจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านยังมีทัศนคติต่อผู้ป่วยเอดส์และโรคเอดส์ว่าเป็นเรื่องของคนที่มีพฤติกรรมไม่ดี
การประเมินผลหลังจากการฝึกอบรม 3 เดือนพบว่า ความรู้ที่ได้รับสามารถนำไปปฏิบัติในการทำงานเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเอดส์ได้เป็นอย่างดี และช่วยพัฒนางานเยี่ยมบ้านให้ดีขึ้นเจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านมีความมั่นใจในการปฏิบัติมากยิ่งขึ้นเจ้าหน้าที่มีแนวทางที่จะให้ข้อมูลกับผู้ป่วยเอดส์และครอบครัวที่เป็นกลาง ไม่เกิดการลำเอียงในการให้ข้อมูล ช่วยให้ผู้ป่วย
เอดส์และครอบครัวตัดสินใจร่วมกัน ในการหาแนวทางการปฏิบตั ติ นและดำเนินชีวติ ต่อไป การให้ข้อมูลที่ชัดเจน ถูกต้องและทันสมัย เป็นส่วนหนึ่งที่ส่งเสริมการอยู่ร่วมกันของชุมชน ผู้ป่วยเอดส์ และครอบครัว
หลักสูตร “การดูแลผู้ป่วยเอดส์ที่บ้าน” เป็นหลักสูตรที่สองคล้องกันนโยบายของกระทรวงสาธารณสุข ที่เน้นให้การดูแลสุขภาพในเชิงรุก การทำให้ผู้ป่วยเอดส์และครอบครัวสามารถดูแลสุขภาพในเบื้องต้นได้ ทำให้ลดภาระงานของโรงพยาบาลไปได้บ้างในบางส่วน จึงควรนำมาเป็นหลักสูตรพัฒนาศักยภาพของเจ้าหน้าที่เยี่ยมบ้านที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนและสถานีอนามัย ให้มีหลักการและแนวคิดเดียวกันทั้งระบบ ส่วนรูปแบบอาจแตกต่างกันไปในแต่ละพื้นที่และสังคม นอกจากนี้คณะผู้วิจัยยังเห็นว่าควรจะพัฒนาหลักสูตรนี้ต่อไปให้ครอบคลุมในทุกมิติทั้งทางด้านสังคมและวัฒนธรรมนอกเหนือจากมิติทางด้านสุขภาพเพียงอย่างเดียวเท่านั้น และควรเน้นการดูแลผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังที่บ้านควบคู่ไปกับผู้ป่วยเอดส์ด้วย |
---|