การพัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกมในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ สำหรับนักเรียนอายุระหว่าง 7-10 ปี ที่มีอาการสมาธิสั้น

การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการควบคุมบทเรียน ในการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม 3 แบบ ได้แก่แบบที่ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมบทเรียน แบบโปรแกรมควบคุมบทเรียน และการควบคุมบทเรียนแบบผสมผสานระหว่างผู้เรียนและโปรแกรม ที่มีต่อความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนอ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: เนตร หงษ์ไกรเลิศ
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน
Format: Article
Language:Thai
Published: 2017
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2040
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการควบคุมบทเรียน ในการเรียนบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม 3 แบบ ได้แก่แบบที่ผู้เรียนเป็นผู้ควบคุมบทเรียน แบบโปรแกรมควบคุมบทเรียน และการควบคุมบทเรียนแบบผสมผสานระหว่างผู้เรียนและโปรแกรม ที่มีต่อความคงทนในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนอายุระหว่าง 7-10 ปีที่มี สมาธิสั้น และมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง รูปแบบของการวิจัยเป็นแบบ Pre test–Post test Control Group Design กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร ที่ได้รับการระบุลักษณะว่ามีอาการสมาธิสั้น และมีพฤติกรรมอยู่ไม่นิ่ง จำนวน 120 คนที่ได้จากการคัดเลือกโรงเรียนที่มีนักเรียนระดับประถมศึกษามากกว่า 1,000 คน จากนั้นทำการสุ่มได้ 17 โรงเรียน ได้นักเรียนจำนวน 4,572 คน เมื่อโครงการวิจัยได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการจริยธรรม การวิจัยในคน คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล จึงให้ครูสังเกตพฤติกรรมโดยใช้แบบสังเกตพฤติกรรม พบเด็กนักเรียนที่มแี นวโน้มว่ามีอาการสมาธิสั้น จำนวน 376 คน จากนั้นใช้แบบวัดสมาธิต่อเนื่องของเด็กนักเรียน พบนักเรียนที่มีอาการสมาธิสั้น จำนวน 258 คน สุ่มอย่างง่ายเป็นกลุ่มตัวอย่างได้ 120 คน แบ่งกลุ่มตัวอย่างเข้ารับการทดลองใน 3 กลุ่มทดลอง กลุ่มควบคุม 1 กลุ่ม กลุ่มละ 30 คน เครื่องมือการวิจัยที่เป็นบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนแบบเกม 3 แบบ และแบบผู้ช่วยสอน มีประสิทธิภาพที่ระดับเกณฑ์ 85/85 แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนมีค่าความเที่ยง 0.88 และ ความเชื่อมั่นที่ 0.93 ข้อมูลที่รวบรวมได้นำไปวิเคราะห์ด้วยสถิติการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One–Way ANOVA) ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05 ผลการวิจัยพบว่า ความคงทนในการเรียนของกลุ่มตัวอย่างทั้ง 4 กลุ่ม ไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ส่วนระยะเวลาในการเรียนพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05