ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอํานาจการทํานายของปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง และการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทํานายความสัมพันธ์วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรค...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ศรัทธา ประกอบชัย, Sattha Prakobchai, ศศิมา กุสุมา ณ อยุธยา, Sasima Kusuma Na Ayuthya, ดวงรัตน์ วัฒนกิจไกรเลิศ, Doungrut Wattanakitkrileart, พีระ บูรณะกิจเจริญ, Peera Buranakitjaroen
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/21883
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาอํานาจการทํานายของปัจจัยด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง และการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงทํานายความสัมพันธ์วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงชนิดไม่ทราบสาเหตุ 98 คน ที่รับประทานยาความดันโลหิตสูง และมาติดตามการรักษาที่คลินิกโรคความดันโลหิตสูงเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพรรณนา ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ความถดถอยแบบพหุคูณผลการวิจัย: พฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงอยู่ในระดับดีมาก การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง และการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานยา มีความสัมพันธ์ทางบวกกับพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = .444, p < .01; r = .550, p < .01) ตามลําดับ โดยระดับการศึกษามีความสัมพันธ์ทางลบกับพฤติกรรมการรับประทานยาอย่างมีนัยสําคัญทางสถิติ (r = - .260, p < .01) ระดับการศึกษา การรับรู้ความรุนแรงของโรคความดันโลหิตสูง และการรับรู้สมรรถนะของตนเองต่อพฤติกรรมการรับประทานยา สามารถร่วมกันทํานายความแปรปรวนพฤติกรรมการรับประทานยาของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้ร้อยละ 38.9 (R2 = .389, p < .01)สรุปและข้อเสนอแนะ: จากผลการศึกษาครั้งนี้ บุคลากรด้านสุขภาพควรให้ความรู้แก่ผู้ป่วยเกี่ยวกับความรุนแรงของภาวะความดันโลหิตสูง และควรส่งเสริมการรับรู้สมรรถนะของตนเองเพื่อการรับประทานยาตามแผนการรักษาอย่างต่อเนื่อง