ความเชื่อและทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ของนักเรียนอาชีวศึกษาที่ติดและไม่ติดนิโคติน

วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อที่มีต่อผลของการเลิกสูบบุหรี่ การประเมินผลลัพธ์ของการเลิกสูบบุหรี่ และทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ และทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ในระหว่าง 6 เดือนข้างหน้า ของนักเรียนอาชีวศึกษาที่ติดนิโคตินและไม่ติดนิโคติน รูปแบบการวิจัย: ก...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: รัชฏาภรณ์ อึ้งเจริญ, Ratchadaporn Ungcharoen, อัจฉราพร สี่หิรัญวงศ์, Acharaporn Seeherunwong, รณชัย คงสกนธ์, Ronnachai Kongsakon, ดุสิต สุจิรารัตน์, Dusit Sujirarat
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/21884
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อเปรียบเทียบความเชื่อที่มีต่อผลของการเลิกสูบบุหรี่ การประเมินผลลัพธ์ของการเลิกสูบบุหรี่ และทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อ และทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ในระหว่าง 6 เดือนข้างหน้า ของนักเรียนอาชีวศึกษาที่ติดนิโคตินและไม่ติดนิโคติน รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยายความสัมพันธ์ วิธีดําเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1-3 ที่สูบบุหรี่ อายุระหว่าง 15-24 ปี จํานวน 632 คน ในเขตกรุงเทพมหานคร โดยสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ 3 ขั้น เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบประเมินพฤติกรรมการสูบบุหรี่แบบติดสารนิโคติน (CAGE) แบบสอบถามทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ แบบสอบถามความเชื่อที่มีต่อผลของการเลิกสูบบุหรี่ และแบบสอบถามการประเมินผลลัพธ์ของการเลิกสูบบุหรี่ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณนา independent t-test และสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัย: กลุ่มที่ไม่ติดนิโคตินมีความเชื่อว่า การเลิกสูบบุหรี่จะทําให้มีสุขภาพดี และภาพลักษณ์ดี มากกว่ากลุ่มที่ติดนิโคติน แต่กลุ่มที่ติดนิโคตินเชื่อว่า ถ้าเลิกสูบบุหรี่แล้วจะทําให้เกิดอาการไม่สุขสบาย และอารมณ์หงุดหงิดมากกว่ากลุ่มที่ไม่ติดนิโคติน ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อและทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่เป็นไปในทางบวก (r = .42, p < .01) ในกลุ่มนักศึกษาที่ไม่ติดนิโคติน มีค่าความสัมพันธ์สูงกว่ากลุ่มที่ติดนิโคติน (r = .48, p < .01; r = .30, p < .01) ตามลําดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: ควรนําความเชื่อต่อการเลิกสูบบุหรี่ที่มีความเฉพาะเจาะจงในกลุ่มที่ติดและไม่ติดนิโคติน มาใช้ในการปรับเปลี่ยนทัศนคติต่อการเลิกสูบบุหรี่ในนักเรียนอาชีวศึกษา ในกลุ่มที่ยังไม่ติดนิโคติน ควรเน้นเรื่องสุขภาพ ภาพลักษณ์ ส่วนกลุ่มที่ติดนิโคติน ควรเน้นในเรื่องการแก้ไขอาการหงุดหงิด และไม่สุขสบายจากการงดสูบบุหรี่