ความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการปรับตัวของนักศึกษาพยาบาล

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4, 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการปรับตัวตามบทบาทการเป็นนักศึกษาพยาบาลระหว่างชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่ 4และเปรียบเทียบพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลระหว่างชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4, 3) ศึกษาควา...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: กนกพร หมู่พยัคฆ์, Kanokporn Moopayak, จรินทิพย์ อุดมพันธุรัก, Jarintip Udomphanthurak, ชลียา กัญพัฒนพร, Chaleeya Kanyapattanapron, ชัญญา แสงจันทร์, Chanya Sangchan, พวงเพชร เกษรสมุทร, Phuangphet Kaesornsamut
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/21944
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษา 1) ความฉลาดทางอารมณ์ของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4, 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการปรับตัวตามบทบาทการเป็นนักศึกษาพยาบาลระหว่างชั้นปีที่ 1 ถึง ชั้นปีที่ 4และเปรียบเทียบพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาลระหว่างชั้นปีที่ 3 และชั้นปีที่ 4, 3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความฉลาดทางอารมณ์กับพฤติกรรมการปรับตัวตามบทบาทการเป็นนักศึกษาพยาบาล และพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนภาคปฏิบัติของนักศึกษาพยาบาล รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิตชั้นปีที่ 1 ถึงชั้นปีที่ 4 จำนวน 262 คน ซึ่งมีชั้นปีที่ 3 และ 4 จำนวน 126 คนเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบวัดความฉลาดทางอารมณ์ของกรมสุขภาพจิต และแบบสอบถามพฤติกรรมการปรับตัว วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการวิจัย: พบว่า 1) นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 มีคะแนนเฉลี่ยความฉลาดทางอารมณ์อยู่ระดับปกติ 2) นักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 1-4 มีการปรับตัวตามบทบาทการเป็นนักศึกษาไม่แตกต่างกัน (p > .05) และนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 3 และ 4 มีพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนภาคปฏิบัติไม่แตกต่างกัน 3) คะแนนความฉลาดทางอารมณ์โดยรวมและตามรายด้านเก่ง ดี มีสุข มีความสัมพันธ์กับคะแนนพฤติกรรมการปรับตัวตามบทบาทการเป็นนักศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .520, .417, .501, .451; p < .001 ตามลำดับ) และมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนภาคปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .459, .265, .315, .355; p < .001 ตามลำดับ) สรุปและข้อเสนอแนะ: ฝ่ายพัฒนานักศึกษาและฝ่ายจัดการศึกษาควรประสานความร่วมมือในการพัฒนาความฉลาดทางอารมณ์ให้กับนักศึกษาพยาบาลเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการปรับตัวตามบทบาทนักศึกษากับพฤติกรรมการปรับตัวในการเรียนภาคปฏิบัติ