การพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการสนับสนุนด้านจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติโดยต้องได้รับการผ่าตัดภายหลังคลอด

วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการสนับสนุนด้านจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติโดยต้องได้รับการผ่าตัดภายหลังคลอด รูปแบบการศึกษา: การใช้รูปแบบหลักฐานเชิงประจักษ์ วิธีดำเนินการศึกษา: ใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของซูคัป เป็นกรอบแนวคิ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: ประคอง ชื่นวัฒนา, Prakong Chuenwattana, ฉวีวรรณ อยู่สําาราญ, Chaweewan Yusamran, อัมประภา เผ่าพันธ์, Amprapa Phoapan
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/21950
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลในการสนับสนุนด้านจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าทารกในครรภ์มีความผิดปกติโดยต้องได้รับการผ่าตัดภายหลังคลอด รูปแบบการศึกษา: การใช้รูปแบบหลักฐานเชิงประจักษ์ วิธีดำเนินการศึกษา: ใช้รูปแบบการใช้หลักฐานเชิงประจักษ์ทางการพยาบาลของซูคัป เป็นกรอบแนวคิดในการพัฒนา ซึ่งมี 4 ระยะ คือ 1) การค้นหาปัญหา 2) การสืบค้นหลักฐานเชิงประจักษ์ 3) การพัฒนาแนวปฏิบัติและนำไปทดลองใช้ และ 4) การนำแนวปฏิบัติที่ปรับปรุงแล้วไปใช้จริงในหน่วยงาน โดยการศึกษาครั้งนี้ได้เริ่มศึกษาจากระยะที่ 1 ถึงระยะที่ 3 มีงานวิจัยทั้งหมด 10 เรื่อง ประกอบด้วย การทบทวนงานวิจัยอย่างเป็นระบบ 1 เรื่อง งานวิจัยแบบศึกษาไปข้างหน้า จำนวน 2 เรื่อง งานวิจัยแบบการศึกษาย้อนหลัง จำนวน 3 เรื่อง และงานวิจัยเชิงคุณภาพ จำนวน 5 เรื่อง รวมทั้งการประเมินความน่าเชื่อถือ และความเป็นไปได้ของแนวปฏิบัติ ผลการศึกษา: ผลการวิเคราะห์และสังเคราะห์งานวิจัยดังกล่าวมี 3 ประเด็นหลัก คือ 1) การประเมินภาวะทางด้านจิตใจและความต้องการการสนับสนุน 2) เทคนิกการสนับสนุนจิตใจด้านอารมณ์และด้านข้อมูล และ 3) การดูแลที่ละเอียดอ่อนต่อความรู้สึกและได้นำผลมาพัฒนาแนวปฏิบัติการพยาบาลและได้ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 5 ท่าน และนำมาปรับปรุงแก้ไขให้มีความเหมาะสม สรุปและข้อเสนอแนะ: การนำแนวปฏิบัติการพยาบาลนี้ไปใช้ควรศึกษานำรองเพื่อประเมินผลทั้งด้านกระบวนการและผลลัพธ์ ควรมีการปรับแนวปฏิบัติให้เหมาะสมกับบริบทของคลินิก นอกจากนี้บูรณาการเข้าไว้เป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาคุณภาพอย่างต่อเนื่องและมีกระบวนการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง