ประสบการณ์การมีอาการ กลวิธีการจัดการอาการ และภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยไตอักเสบลูปัส

วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการ กลวิธีการจัดการอาการ และภาวะการทำหน้าที่ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการและภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยไตอักเสบลูปัส รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยายวิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตอักเสบลูปัสจำน...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: สิริกาญจน์ หาญรบ, Sirikarn Hanrop, วิมลรัตน์ ภู่วราวุฒิพานิช, Wimolrat Puwarawuttipanit, อรวมน ศรียุกตศุทธ, Aurawamon Sriyuktasuth, สุชาย ศรีทิพยวรรณ, Suchai Sritippayawan
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. คณะพยาบาลศาสตร์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2018
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/22377
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาประสบการณ์การมีอาการ กลวิธีการจัดการอาการ และภาวะการทำหน้าที่ และศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสบการณ์การมีอาการและภาวะการทำหน้าที่ในผู้ป่วยไตอักเสบลูปัส รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงบรรยายวิเคราะห์ความสัมพันธ์ วิธีดำเนินการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ป่วยโรคไตอักเสบลูปัสจำนวน 100 คนซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไปเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป แบบสอบถามประสบการณ์การมีอาการของผู้ป่วยไตอักเสบลูปัส แบบสัมภาษณ์กลวิธีการจัดการอาการ และแบบสอบถามภาวะการทำหน้าที่ ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยของภาวะการทำหน้าที่อยู่ในเกณฑ์ดี (Mean = 47.74 SD = 7.79) ประสบการณ์การมีอาการที่รบกวนการดำเนินชีวิตมากที่สุด 5 อันดับแรก ได้แก่ ตามัว นอนไม่หลับ อ่อนเพลีย/ไม่มีแรง ปวดข้อ และปวดศีรษะ มีค่าความสัมพันธ์เชิงลบกับภาวะการทำหน้าที่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r= - .32, - .31, - .49, - .49, - .23 ตามลำดับ; p < .05) กลุ่มตัวอย่างจัดการกับอาการปวดศีรษะ นอนไม่หลับ/นอนยาก อ่อนเพลีย/ไม่มีแรง ปวดข้อ และตามัว โดยกลวิธีการจัดการอาการใช้การรับประทานยาแก้ปวดการพยายามฝืนนอนหลับ การนอนพัก การทายาลดปวด/เมื่อย การไปพบแพทย์ ตามลำดับ สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรประเมินอาการ และวางแผนการดูแลที่มีประสิทธิภาพ และให้ความรู้แก่ผู้ป่วยและครอบครัว นอกจากนี้พยาบาลควรมีการทำวิจัย และพัฒนาโปรแกรมการจัดการอาการที่มีประสิทธิภาพเพื่อลดความทุกข์ทรมานจากอาการต่างๆ และเพิ่มภาวะการทำหน้าที่ที่ดีขึ้นของผู้ป่วยไตอักเสบลูปัส