ความเป็นไปได้ของระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบบเอทูโอ (Anaerobic-Anoxic-Oxic; A2/O) ในการกำจัดสารอินทรีย์และสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) จากน้ำเสียโรงฆ่าสัตว์

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์และสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) จากน้ำเสียโรงฆ่าสัตว์ โดยใช้แบบจำลองระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบบเอทูโอ (Anaerobic-Anoxic-Oxic; A2/O) ออกแบบการทดลองในลักษณะ Factorial design (32) ปัจจัยร่วม ซึ่งประกอบด้วย 9 สภาวะการทดลองที่แตกต่างกัน ก...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Authors: นุช คูหาสวรรค์, ประยูร ฟองสถิตย์กุล, สุวิทย์ ชุมนุมศิริวัฒน์, กฤษณ์ เฑียรฆประสิทธิ์, ชวลิต วโรดมรังสิมันตุ์
Format: Article
Language:Thai
Published: 2011
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2330
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพในการกำจัดสารอินทรีย์และสารอาหาร (ไนโตรเจนและฟอสฟอรัส) จากน้ำเสียโรงฆ่าสัตว์ โดยใช้แบบจำลองระบบบำบัดน้ำเสียทางชีวภาพแบบเอทูโอ (Anaerobic-Anoxic-Oxic; A2/O) ออกแบบการทดลองในลักษณะ Factorial design (32) ปัจจัยร่วม ซึ่งประกอบด้วย 9 สภาวะการทดลองที่แตกต่างกัน กำหนดตัวแปรจากอัตราส่วนร้อยละของปริมาตรถังปฏิกรณ์ (แอนแอโรบิก : แอนอกซิก : ออกซิก) 3 ระดับ คือ 15:35:50, 20:40:40 และ 25:45:30 (ร้อยละโดยปริมาตร) และระยะเวลาเก็บกักตะกอน 3 ระดับ คือ 10, 15 และ 20 วัน ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี ทีเคเอ็นไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัสเฉลี่ยอยู่ระหว่างร้อยละ 96.91-98.65, 97.46-9854, 93.19-97.13 และ 89.74-99.01 ตามลำดับ ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี ทีเคเอ็น และไนโตรเจนทั้งหมด ไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสำหรับทุกอัตราส่วนร้อยละของปริมาตรถังปฏิกรณ์ ขณะที่อัตราส่วนร้อยละของปริมาตรถังปฏิกรณ์ 20:40:40 และ 25:45:30 (ร้อยละโดยปริมาตร) มีประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสสูงกว่าอัตราส่วนร้อยละของปริมาตรถังปฏิกรณ์ 15:35:50 (ร้อยละโดยปริมาตร) อย่างมีนัยสำคัญ แต่ประสิทธิภาพที่อัตราส่วนร้อยละของปริมาตรถังปฏิกรณ์ 20:40:40 และ 25:45:30 (ร้อยละโดยปริมาตร) มีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญส่วนระยะเวลาเก็บกักตะกอนสามารถส่งผลต่อประสิทธิภาพการกำจัดทีเคเอ็นไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัสโดยที่ระยะเวลาเก็บกักตะกอน 20 วัน มีประสิทธิภาพการกำจัดทีเคเอ็นและไนโตรเจนทั้งหมดสูงกว่าที่ระยะเวลาเก็บกักตะกอน 10 และ 15 วัน อย่างมีนัยสำคัญ ในทางตรงกันข้ามประสิทธิภาพการกำจัดฟอสฟอรัสที่ระยะเวลาเก็บกักตะกอน 10 วัน มีค่าสูงกว่าที่ระยะเวลาเก็บกักตะกอน 15 และ 20 วัน อย่างมีนัยสำคัญ แต่ประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดีมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญสำหรับทุกระยะเวลาเก็บกักตะกอน ดังนั้นสภาวะที่เหมาะสมของการบำบัดน้ำเสียโรงฆ่าสัตว์ด้วยระบบเอทูโอคือ ที่อัตราส่วนร้อยละของปริมาตรถังปฏิกรณ์ (แอนแอโรบิก:แอนอกซิก:ออกซิก) 25:45:30: (ร้อยละโดยปริมาตร) และมีระยะเวลาเก็บกักตะกอน 10 วัน โดยมีประสิทธิภาพการกำจัดซีโอดี ทีเคเอ็น ไนโตรเจนทั้งหมด และฟอสฟอรัส ประมาณร้อยละ 97.23, 97.46, 94.87 และ 99.01 ตามลำดับ