ความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานทางสุขภาพ ความรุนแรงของโรคความรับผิดชอบของผู้ป่วย และการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานทางสุขภาพ ความรุนแรงของโรค ความรับผิดชอบของผู้ป่วย และการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ วิธีดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู็ป่วยท...
Saved in:
Main Authors: | , , , , , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Article |
Language: | Thai |
Published: |
2018
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/25198 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Language: | Thai |
Summary: | วัตถุประสงค์: เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความแตกฉานทางสุขภาพ ความรุนแรงของโรค ความรับผิดชอบของผู้ป่วย และการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง กับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ
รูปแบบการวิจัย: การวิจัยเชิงสหสัมพันธ์
วิธีดำเนินงานวิจัย: กลุ่มตัวอย่างเป็นผู็ป่วยที่มาติดตามรักษาครั้งที่ 2 ภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ จำนวน 94 ราย ที่คลินิกศัลยกรรมโรคหัวใจ สถาบันโรคทรวงอก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์โดยใช้แบบบันทึกข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามความแตกฉานทางสุขภาพ แบบสอบถามความรับผิดชอบของผู้ป่วย แบบสอบถามการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลาง และแบบสอบถามคุณภาพชีวิต วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัย: กลุ่มตัวอย่างมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับดี (M = 75.36, SD = 12.48) ความรุนแรงของโรคตามค่า Cardiac Power Index เฉลี่ย 0.58 Watts/m2 ความแตกฉานทางสุขภาพ ความรับผิดชอบของผู้ป่วย และการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางอยู่ในระดับสูง (M = 7.87, 70.17, 5.32 ตามลำดับ) ความแตกฉานทางสุขภาพและการรับรู้การดูแลแบบบุคคลเป็นศููนย์กลางมีความสัมพันธ์ทางบวกกับคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยภายหลังผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจในช่วง 10-20 สัปดาห์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = .214; r = .226, p < .05)
สรุปและข้อเสนอแนะ: พยาบาลควรส่งเสริมความแตกฉานทางสุขภาพของผู้ป่วยด้วยการพัฒนาระบบการให้ความรู้และคำแนะนำการปฏิบัติตนก่อนจำหน่ายร่วมกับพัฒนา คุณภาพระบบการบริการโดยนำรูปแบบการดูแลแบบบุคคลเป็นศูนย์กลางมาใช้ในการดูแลผู้ป่วยผ่าตัดทำทางเบี่ยงหลอดเลือดหัวใจ โดยประเมินผลการดูแลจากการรับรู้ของผู้ป่วย |
---|