การย้ายถิ่นแบบจำยอมในประเทศไทย : บทวิเคราะห์ตามแนวทฤษฎีคลาสสิคของ William Petersen

การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงภาวะการย้ายถิ่น แบบจำ ยอมในประเทศไทย โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับประเภทของการย้ายถิ่น “A General Typology of Migration” ของ William Petersen มาวิเคราะห์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จากรายงานผลการสำ รวจการย้ายถิ่นของประชากร พ.ศ.2537 และ พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นข้อมูลทุติ...

Full description

Saved in:
Bibliographic Details
Main Author: โยธิน แสวงดี
Other Authors: มหาวิทยาลัยมหิดล. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
Format: Article
Language:Thai
Published: 2014
Subjects:
Online Access:https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/2989
Tags: Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
Institution: Mahidol University
Language: Thai
Description
Summary:การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถึงภาวะการย้ายถิ่น แบบจำ ยอมในประเทศไทย โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับประเภทของการย้ายถิ่น “A General Typology of Migration” ของ William Petersen มาวิเคราะห์ ข้อมูลที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จากรายงานผลการสำ รวจการย้ายถิ่นของประชากร พ.ศ.2537 และ พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นข้อมูลทุติยภูมิ เมื่อจัดแบบการย้ายถิ่นออกเป็น 2 แบบตามเหตุผลของการย้ายถิ่น การย้ายถิ่นแบบจำ ยอม ได้แก่ 1) ย้ายตามหน้าที่การงาน 2) ย้ายตามครอบครัว 3) ขาดคนดูแล/ต้องดูแลคนอื่น ส่วนการย้ายถิ่นแบบสมัครใจ ได้แก่ ย้ายเพื่อหางานทำต้องการทำงานที่มีรายได้มากกว่า เหตุผลทางการศึกษา การย้ายกลับภูมิลำเนา ฯลฯ ผลการวิเคราะห์พบว่าผู้ย้ายถิ่นภายในประเทศไทยประมาณร้อยละ 30 เป็นการย้ายถิ่นแบบจำยอม ขณะที่มากกว่าร้อยละ 60 เป็นการย้ายถิ่นแบบสมัครใจและอีกประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ เป็นการย้ายถิ่นแบบลักษณะอื่น ซึ่งให้ผู้อื่นช่วยตัดสินใจให้ ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ของการย้ายถิ่นภายในจังหวัดเป็นการย้ายถิ่นแบบจำยอม ขณะที่การย้ายเข้าสู่ภาคใต้เป็นการย้ายแบบจำยอมมากที่สุดทั้งเพศหญิงและเพศชาย เมื่อวิเคราะห์ถึงผู้มีบทบาทหลักในการย้ายถิ่นพบว่า เพศชายยังคงเป็นผู้ย้ายถิ่นหลัก (Active Migrant) ขณะที่เพศหญิงเป็นผู้ย้ายถิ่นติดตาม (Passive Migrant) การย้ายเข้าสู่กรุงเทพฯ เป็นการย้ายแบบสมัครใจมากที่สุด ในขณะที่กระแสการย้ายถิ่นจากเมืองสู่เมืองเป็นลักษณะการย้ายถิ่นแบบจำยอมเป็นส่วนใหญ่ ผลการศึกษานี้คาดว่าจะเป็นประโยชน์ ทำให้มีการวิเคราะห์ถึงภาวะการย้ายถิ่นแบบจำยอม (Impelled Migration) ในประเทศไทยมากขึ้น