รายงานวิจัยโครงการส่งเสริมการบริโภคข้าวกล้องในผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มวิตามินบี 1 ในอาหาร
โครงการส่งเสริมการบริโภคข้าวกล้องในผู้สูงอายุ เพื่อการศึกษาปริมาณวิตามินบี 1 ในอาหารที่กิน และการยอมรับข้าวกล้องของผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไป จำนวน 60 คน พักอาศัยที่บ้าน สุขภาพปกติ และสมัครใจ วิธีการศึกษาเป็นแบบทดลองให้ผู้สูงอายุกินข้าวกล้องแทนข้าวขาวภายใน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน เปรียบเทียบข้อมูลก่อนกินข้...
Saved in:
Main Authors: | , , , |
---|---|
Other Authors: | |
Format: | Research Report |
Published: |
2012
|
Subjects: | |
Online Access: | https://repository.li.mahidol.ac.th/handle/123456789/30020 |
Tags: |
Add Tag
No Tags, Be the first to tag this record!
|
Institution: | Mahidol University |
Summary: | โครงการส่งเสริมการบริโภคข้าวกล้องในผู้สูงอายุ เพื่อการศึกษาปริมาณวิตามินบี 1 ในอาหารที่กิน
และการยอมรับข้าวกล้องของผู้สูงอายุ 55 ปีขึ้นไป จำนวน 60 คน พักอาศัยที่บ้าน สุขภาพปกติ และสมัครใจ วิธีการศึกษาเป็นแบบทดลองให้ผู้สูงอายุกินข้าวกล้องแทนข้าวขาวภายใน 4 สัปดาห์ติดต่อกัน
เปรียบเทียบข้อมูลก่อนกินข้าวกล้องและขณะกินข้าวกล้องในสัปดาห์ที่ 4 ใช้วิธีสัมภาษณ์อาหารที่กินย้อนหลัง 24 ชั่วโมงร่วมกับวิธีจดบันทึก เก็บข้อมูล 3 รอบ คือก่อนกินข้าวกล้อง ขณะกินข้าวกล้องสัปดาห์ที่ 2 และที่ 4 รอบละ 3 วันติคต่อกัน เปรียบเทียบผลก่อนและหลังกินข้าวกล่อง 4 สัปดาห์ พบว่าดัชนีมวลกาย (BMI) มีการเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ปกติร้อยละ 52 เป็น 48 ผอมร้อยละ 10 ไม่เปลี่ยนแปลง ท้วมร้อยละ 32 เป็น 37 อ้วนร้อยละ 7 เป็น 5 ก่อนการศึกษาค่า Erythrocyte Thiamin Pyrophosphate (TPP) มีค่าเฉลี่ย 80.44 ± 17.43 ng/ml อยู่ในระดับปกติ ก่อนกินข้าวกล้องมีคนที่ผลการเคาะเข่าผิดปกติร้อยละ 20 มีอาการชาปลายมือปลายเท้าร้อยละ 38 มีอาการบวมร้อยละ 8 เมื่อกินข้าวกล้องแล้ว 4 สัปดาห์ ผลการเคาะเข่าผิดปกติลดลงเหลือร้อยละ 18 มีอาการชาปลายมือปลายเท้าร้อยละ 20 และอาการ บวมร้อยละ 7 และผู้สูงอายุร้อยละ 36.7 รายงานว่าขับถ่ายง่ายขึ้น และจำนวนคนถ่ายอุจจาระทุกวันเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 83.3 เป็น 93.3
สารอาหารคำนวณจากการเก็บข้อมูลการบริโภคอาหาร 24 ซม. พบว่าจำนวนผู้สูงอายุร้อยละ 62-95 ได้รับวิตามินเอ บี 1 บี 2 และแคลเซียมน้อยกว่า 70 % RDA โดยเฉลี่ยทั้ง 2 ครั้งไม่แตกต่างกัน พฤติกรรมการกินอาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินบี 1 พบว่าเนื้อหมูและไข่เป็นอาหารประจำของผู้สูงอายุร้อยละ 88 และ 95 ตามลำดับ ปริมาณเฉลี่ยต่อเดือนเนื้อหมู 302-394 กรัม ไข่ 9 ฟอง ปริมาณข้าวกล้องสุกที่กินแต่ละครั้งเปรียบเทียบกับข้าวขาวสุกไม่แตกต่างกัน ในทำนองเดียวกันค่าเฉลี่ยข้าวสุกที่กินต่อวันทั้ง 3 ครั้ง ไม่แตกต่างกันคือ 462, 470 และ 465 กรัม ตามลำดับ ร้อยละ 85.7 รู้สึกพอใจและคิดว่าข้าวกล้องมีประโยชน์มากกว่าข้าวขาว ปริมาณสารอาหารที่ได้รับใกล้เคียงกันทั้งก่อนกินข้าวกล้องและขณะกินข้าวกล้องสัปดาห์ที่ 2 และ 4 คือพลังงาน 1489 ± 494, 1426 ± 405 และ 1424 ± 448 กิโลกรัมต่อวันต่อคนโปรตีน 45 ±15, 42± 15, กรัม และไขมัน 34 ± 14, 31 ± 12, 31 ± 15 ค่ามัธยฐานของวิตามินบี 1 คือ 0.57, 0.61, 0.65 มิลลิกรัม ตามลำดับ |
---|